บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2024

ฉุยฉายนาฏศิลป์

 ฉุยฉายนาฏศิลป์         ฉุยฉายนาฏศิลป์ เป็นการแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ จากสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์กรุงเทพ  ในบทเพลงจะพรรณนาถึงความอ่อนช้อยสวยงามของลีลานาฏศิลป์ไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่ง เป็นชุดที่สวยงาม น่าชมและแปลกตาอีกชุดหนึ่ง  ใช้แสดงได้ในทุกโอกาส ทุกงาน การแต่งกาย ถ้ารำนางจะแต่งเหมือนฉุยฉายวันทอง หรือถ้ารำพระ จะแต่งเหมือนฉุยฉายพราหมณ์        ฉุยฉายเอย เจ้าสวยสำอางค์ทั่วสรรพางค์กาย   เยื้องยาตรเจ้านาฏกรกราย สมเชื้อสายแห่งนาฏศิลป์   จะฟ้อนจะรำ ช่างงามหนักหนา   ท่วงทีลีลา เลิศศิลปิน        แม่ศรีเอย แม่ศรีนาฏศิลป์   งามดังกินริน โบยบินเวหา   สองเนตรคมขำ ยิ่งล้ำมฤคา   ชม้ายชายตา ยวนอุราจริงเอย  

ระบำศรีชัยสิงห์

  ระบำศรีชัยสิงห์           ระบำศรีชัยสิงห์ เป็นระบำโบราณคดีที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก ซึ่งภาพจำหลักนี้ ได้ลอกเลียนแบบมาจากปราสาทเมืองสิงห์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดัดแปลงมาจากท่ารำของนางอัปสรบายน ในสมัยขอมบายน มาเป็นหมู่ระบำนางอัปสรฟ้อนรำถวายพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำศรีชัยสิงห์ ๑.  ระนาดเอก ๒.  ระนาดทุ้ม ๓.  ระนาดเอกเหล็ก ๔.  ระนาดทุ้มเหล็ก ๕.  ฆ้องวงใหญ่ ๖.  ฆ้องวงเล็ก ๗.  ปี่นอก ๘.  โทน ๙.  ฉิ่ง ๑๐. ฉาบเล็ก ๑๑. กรับ ๑๒. โหม่ง เครื่องแต่งกายตัวเอก      เสื้อ   เป็นชุดรัดรูปสีน้ำตาลอ่อน คอกลม แขนสั้นเหนือศอก      ผ้านุ่ง  เป็นกระโปรงสำเร็จรูปแบบป้าย ทบซ้อนหน้า สีเหลืองทอง ยาวคลุมเข่า มีลูกไม้แถบสีทองเดินลายและปักเลื่อมดอกสีทองประปราย ตัดเย็บด้วยผ้าผาดไทยชนิดมีลวดลายในตัว เครื่องประดับ ศีรษะของตัวเอก ประกอบด้วย ๑.  กะบังหน้า ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับพลอย และกระจกสีต่างๆ ๒.  ยี่ก่า ๓.  เกี้ยว ๔.  พู่หนัง ๕.  สาแหรก ๖.  ปลียอด ๗. 

ระบำสุโขทัย

 ระบำสุโขทัย    เป็นระบำโบราณคดี ที่ได้สร้างขึ้นตามความรู้สึกจากแนวสำเนียงของถ้อยคำไทยในศิลาจารึก ประกอบด้วย ลีลาท่าเยื้องกรายอันนิ่มนวลอ่อนช้อยของรูปภาพปูนปั้นหล่อในสมัยสุโขทัย  ได้แก่ พระพุทธรูปปางสำริต และรูปภาพปูนปั้นปางลีลา  รูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์และท่าทีของพระพรหมและพระอินทร์ ที่ตามเสด็จ การแสดงระบำสุโขทัย จะรำตามจังหวะดนตรีไม่มีเนื้อร้อง นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ ๑.  จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้ หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป ๒.  ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลัง หงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า ๓.  ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัว อยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน ๔.  ท่าพระนารยณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์ ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย ๕.  ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฎศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น ๖.  ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้

รำบายศรีสู่ขวัญ

 รำบายศรีสู่ขวัญ         เป็นการแสดงถึงพิธีกรรมความเชื่อของชาวอีสาน เพื่อเป็นการเรียกขวัญหรือสิ่งที่เป็นสิริมงคล เข้ามาสู่ผู้ร่วมพิธีนั้น ๆ ปัจจุบันอาจใช้แสดงในงานทั่วไป          มาเถิดเย้อ มาเย้อขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย   หมู่ชาวเมืองมา เบื้องขวานั่งส่ายลาย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว   ยอพระขวัญไม้จันทร์เพริศแพรว ขวัญมาแล้วมาสู่คิงกลม   เกศเจ้าหอมลอยลม ทัดเอื้องชวนชมเก็บเอาไว้บูชา   ยามฝนพรำเจ้าอย่าแข็ง แดดร้อนแรงเจ้าอย่าครา   อยู่ที่ไหนจงมา รัดด้ายไชยามาคล้องผ้าแพรกระเจา   อย่าเพลินเผลอ มาเย้อขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย   อยู่แดนดินใด หรือฟ้าฟากใด ขอให้มาเฮือนเฮา   เผืออย่าคิดอาลัยสู่เกา ขออย่าเว้าขวัญเจ้าจะตรม   หมอกน้ำค้างพร่างพรม ขวัญอย่าเพลินชมป่าเขาลำเนาไพร   เชิญไล้ทาประทินกลิ่นหอม ดมพยอมให้ชื่นใจ   เหล่าข้าน้อยแต่งไว้ ร้อยพวงมาลัยจะคล้องให้สวยรวย   ท่าออก  ก้าวเท้าขวา ย่อตัวมือทั้งสองจีบหงายด้านขวา   ม้วนจีบเป็นวง พร้อมกับยืดตัวขึ้น ลักษณะเขย่งปลายเท้าแล้ววาง เอียงขวา ก้าวเท้าซ้าย จีบหงายด้านซ้าย เอียงซ้าย   ปล่อยจีบเป็นวง เอียงซ้าย ทำเช่นนี้ส

แม่บทเล็ก

  แม่บทเล็ก         แม่บทเล็ก เป็นการแสดงที่ตัดตอนมาจากบทละคร ในเรื่องรามเกียรติ์ตอนนารยณ์ปราบนนทุก  เรื่องราวมีความเป็นมา ดังนี้         นนทุกเป็นยักษ์มีหน้าที่คอยล้างเท้าเทพบุตรนางฟ้า ณ เชิงเขาไกรลาส เพื่อขึ้นเฝ้าพระอิศวร  บรรดาเทพบุตรนางฟ้าทั้งหลายพากันข่มเหงโดยเขกศีรษะ และถอนผมจนศีรษะนนทุกล้าน นนทุกเสียใจจึงขอพรพระอิศวร ให้นิ้วของตนเป็นเพชรชี้ใครตายทั้งสิ้น และชี้บรรดาเทวดานางฟ้าที่มารังแกตนให้ถึงแก่ความตาย   ทราบถึงพระนารายณ์และรู้ชะตาของนนทุก ว่าจะตายด้วยหลงเสน่ห์สตรี จึงแปลงองค์เป็นหญิงรูปงามไปคอยท่านนทุก นนทุกนั้นเมื่อพบหญิงสาวมีสิริโฉมโสภา จึงเข้าเกี้ยวพาราสี นางทำกลมารยาให้นนทุกรำตามตนด้วยเพลงชมตลาด เรียกว่า รำแม่บท         แม่บทเล็ก เป็นท่ารำมาตรฐานหรือแม่ท่า ใช้ทำนองเพลงชมตลาด มีลีลาเอื้อนช้า นุ่มนวลและอ่อนช้อยตามลักษณะของท่ารำไทยเป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งผู้ฝึกนาฎศิลป์จะต้องฝึกรำให้คล่องแคล่วชำนาญ เพื่อเป็นพื้นฐานในการรำเพลงอื่นๆ           เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน (โบก)      ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน กินรินเลียบถ้ำอำไพ (โบก) (ดนตรีรับ)      อีกช้านางนอนภมรเคล้า

เพลงบูชานักรบ

 เพลงบูชานักรบ คำร้อง   ท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลสงคราม ทำนอง  ครูเอื้อ  สุนทรสนาน     น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ   เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบ   น้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทน   หนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบ   น้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการ   บากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ   น้องรักรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต   เลือดเนื้อพี่พลีอุทิศ ชาติยงอยู่ยงอยู่คู่พิภพ   ความหมาย  น้องรักและบูชาพี่ เพราะมีความกล้าหาญ เป็นนักสู้ที่เก่งกล้าสามารถสมกับเป็นชายชาตินักรบที่มีความมานะอดทน แม้ว่าจะยากเย็นแสนเข็ญ พี่ก็ต่อสู้จนชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว  นอกจากนี้ยังขยันขันแข็งในงานทุกอย่าง อุตส่าห์สร้างหลักฐานให้มั่นคง และพี่ยังมีความรักในชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าชีวิต ยอมสละได้แม้ชีวิตและเลือดเนื้อเพื่อให้ชาติไทยคงอยู่คู่โลกต่อไป     น้องรัก   เที่ยวที่ ๑ ท่าหญิง "ขัดจางนาง" ท่าชาย "จันทร์ทรงกลด" (หญิง)  มือทั้งสองจีบคว่ำ (ชาย)  มือทั้งสองจีบคว่ำระดับวงกลาง ีรักบูชาพี่ (หญิง)  พลิกข้อมื

เพลงยอดชายใจหาญ

 เพลงยอดชายใจหาญ คำร้อง   ท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลสงคราม ทำนอง  ครูเอื้อ  สุนทรสนาน     โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรี   น้องขอร่วมชีวี กอบกรณีย์กิจชาติ   แม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตาม   น้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ   ความหมาย  ขอผูกมิตรไมตรีกับชายผู้กล้าหาญ  และจะขอมีส่วนในการทำประโยชน์ทำหน้าที่ของชาวไทย แม้จะลำบากยากแค้น ก็จะขอช่วยเหลือจนเต็มความสามารถ   โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรี ท่าหญิง "ชะนีร่ายไม้" ท่าชาย "จ่อเพลิงกาฬ"   (หญิง)  มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายแบหงายระดับไหล่ แล้วพลิกข้อมือเป็นมือตั้ง เปลี่ยนเป็นมือหงายสลับกันไป ตามจังหวะของเพลง ลักษณะเหมือนรำส่าย เป็นท่า "ชะนีร่ายไม้" (ชาย)  มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบหงายระดับต่ำกว่าวงกลางเล็กน้อย และงอแขนเล็กน้อย เป็นท่า "จ่อเพลิงกาฬ" น้องขอร่วมชีวี กอบกรณีย์กิจชาติ (หญิง)  มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาแบหงายระดับไหล่ แล้วพลิกข้อมือเป็นมือตั้ง เปลี่ยนเป็นมือหงายสลับกันไป (ชาย)  มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบหงาย ระดับต่ำกว่าวงกลาง ทำท่าเช่นนี้สลับกันจนจบเพลง  ส่วนการก้าวเท้า จะก้าวเท้าไ

เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า

  เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า คำร้อง   ท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลสงคราม ทำนอง  ครูเอื้อ  สุนทรสนาน     ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่   จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจ   ที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตย   ถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย   ความหมาย  ในเวลาค่ำคืนท้องฟ้ามีดวงจันทร์ประจำอยู่  ในใจของชายก็มีหญิงอันเป็นสุดที่รักประจำอยู่เช่นกัน  สิ่งที่เทิดทูนยกย่องไว้ก็คือชาติไทยที่เป็นเอกราช มีอิสระแก่ตนไม่ขึ้นกับใคร และสิ่งที่แนบสนิทอยู่ในใจของชายก็คือหญิงอันเป็นสุดที่รัก   ท่าช้างประสานงา , จันทร์ทรงกลด  ท่าเชื่อม  มือทั้งสองจีบคว่ำด้านหน้า เอียงซ้าย จีบมือหงายทั้งสองข้าง เหยียดแขนตึงไปข้างหน้าเสมอไหล่เป็นท่า "ช้างประสานงา" ท่าเชื่อม ปล่อยจีบลงเป็นแบมือหงาย ปลายนิ้วตกลงอย่างรวดเร็ว พลิกข้อมือทั้งสองขึ้น เป็นตั้งวงหน้าให้ปลายนิ้วชี้ขึ้นระดับคิ้ว หย่อนข้อศอกพองาม เป็นท่า "จันทร์ทรงกลด" การก้าวเท้า เช่นเดียวกับเพลงคืนเดือนหงาย โดยก้าวเท้าขวา ก้าวเท้าซ้าย แล้วใช้เท้าขวาวางหลัง ก้าวเท้าซ้าย ก้าวเท้าขวา ใช้เท้าซ้ายวางหลัง ทำเช่นนี้จนจบเพลง

เพลงหญิงไทยใจงาม

  เพลงหญิงไทยใจงาม คำร้อง   ท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลสงคราม ทำนอง  ครูเอื้อ  สุนทรสนาน   เดือนพราว ดาวแวววาวระยับ   แสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่น   ดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญ   คุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงาม   ขวัญใจ หญิงไทยส่งศรีชาติ   รูปงามวิลาส ใจกล้ากาจเรืองนาม   เกียรติยศ ก้องปรากฎทั่วคาม   หญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว   ความหมาย  ดวงจันทร์ที่ส่องแสงอยู่บนท้องฟ้ามีความงดงามมาก  และยิ่งได้แสงอันระยิบระยับของดวงดาวด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ดวงจันทร์นั้นงามเด่นยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนกับดวงหน้าของหญิงสาวที่มีความงดงามอยู่แล้ว ถ้ามีคุณความดีด้วย ก็จะทำให้หญิงนั้นงามเป็นเลิศ  ผู้หญิงไทยนี้เป็นขวัญใจของชาติ เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาติ รูปร่างก็งดงาม จิตใจก็กล้าหาญ ดังที่มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ทั่วไป ท่าพรหมสี่หน้า, ยูงฟ้อนหาง   ท่าเชื่อมคือมือทั้งสองจีบคว่ำระดับวงกลาง แล้วสอดจีบขึ้นไปตั้งวงบัวบาน เรียกว่าท่าพรหมสี่หน้า จากนั้นมือทั้งสองค่อยๆ ลดวงบัวบานลงมา ส่งมือทั้งสองไปด้านหลัง แขนตึงคว่ำมือปลายนิ้วเชิดขึ้น เป็นท่ายูงฟ้อนหาง แล้วเปลี่ยนเป็นท่าเชื่อมคื

เพลงดอกไม้ของชาติ

 เพลงดอกไม้ของชาติ   (สร้อย)   ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาสนวยนาดร่ายรำ (ซ้ำ)   เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฎศิลป์   ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม   (สร้อย)     งานทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชาย   ดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ   (สร้อย)   แสดงท่ารำจาก...บ้านรำไทย ดอนเมือง (www.banramthai.com) ท่ารำยั่ว   มือซ้ายตั้งวงล่าง มือขวาจีบส่งหลัง เอียงศีรษะด้านเดียวกับวง ชาย-หญิงหันหน้าเข้าหากัน โดยชายก้าวเท้าขวาออกนอกวงรำก่อนคำร้องเล็กน้อย หญิงถอยเท้าขวาออกนอกวงรำเล็กน้อย   ก้าวซ้ายเป็นจังหวะที่ ๑ ก้าวขวาเป็นจังหวะที่ ๒  แล้วจรดส้นเท้าซ้ายสองครั้งเป็นจังหวะที่ ๓ และ ๔ เท้าซ้ายถอยหลัง เป็นจังหวะที่ ๕ พร้อมทั้งเปลี่ยนเป็นมือขวาตั้งวงต่ำ มือซ้ายจีบส่งหลัง ศีรษะเอียงขวา รำเช่นนี้ไปจนจบเพลง

เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ

 เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ คำร้อง  ท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลสงคราม ทำนอง   อาจารย์มนตรี  ตราโมท     ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภา   ทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตา   แสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้า   ไม่งามเท่าหน้า นวลน้องยองใย   งามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทย   งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไม   วาจากังวาน อ่อนหวานจับใจ   รูปทรงสมส่วนยั่วยวนหทัย สมเป็นดอกไม้ขวัญใจชาติเอย   ความหมาย  พระจันทร์เต็มดวงที่ลอยอยู่บนท้องฟ้านั้นช่างดูสวยงาม เพราะเป็นพระจันทร์ทรงกลด คือมีแสงเลื่อมกระจายออกรอบดวงจันทร์ทั้งดวง แต่ถึงจะงามอย่างไรก็ยังไม่เท่าความงามของดวงหน้าหญิงสาว ที่ดูผุดผ่องมีน้ำมีนวล อีกทั้งรูปร่างก็ดูสมส่วน กิริยาวาจาก็อ่อนหวานไพเราะ สมแล้วกับที่เปรียบว่าหญิงไทยนี้คือดอกไม้ของชาติไทยเรา ดวงจันทร์ ท่าแขกเต้าเข้ารัง , ผาลาเพียงไหล่ ท่าแขกเต้าเข้ารัง มือขวาจีบสูง มือซ้ายจีบอยู่ใต้ศอกขวา เท้าซ้ายแตะเท้าขวา เอียงซ้าย วันเพ็ญ มือซ้ายจีบสูง มือขวาจีบอยู่ใต้ศอกซ้าย เท้าขวาแตะเท้าซ้าย เอียงขวา ลอยเด่น ใช้เท้าขวาที่แตะหมุนตัวไปทางขวา มือขวาที่จีบอยู่ใต้ศอกเปลี

เพลงคืนเดือนหงาย

 เพลงคืนเดือนหงาย คำร้อง   จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) ทำนอง   อาจารย์มนตรี  ตราโมท     ยามกลางคืนเดือนหงาย เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา   เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา   เย็นร่มธงไทยปกไปทั่วหล้า เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย   ความหมาย  เวลากลางคืน เป็นคืนเดือนหงาย มีลมพัดมาเย็นสบายใจ แต่ก็ยังไม่สบายใจเท่ากับการที่ได้ผูกมิตรกับผู้อื่น และที่ร่มเย็นไปทั่วทุกแห่งยิ่งกว่าน้ำฝนที่โปรยลงมา ก็คือการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราช มีธงชาติไทยเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ร่มเย็นทั่วไป ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง         แปลงมาจากท่าสอดสร้อยมาลาในเพลงงามแสงเดือน ท่าเตรียมโดยยืนเท้าชิดกัน มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบหงายที่ชายพก ศีรษะเอียงขวา  พอเริ่มเพลงมือขวาที่จีบหงายที่ชายพกโบกขึ้นไปตั้งวงบน โดยไม่ต้องสอดหรือม้วนมือ มือซ้ายลดวงลงแล้วพลิกข้อมือเป็นจีบหงายที่ชายพก เปลี่ยนมาเอียงซ้าย มือซ้ายยกขึ้นไปตั้งวงบน มือขวาลดวงลงแล้วพลิกข้อมือเป็นจีบหงายที่ชายพก เอียงขวา ทำเช่นนี้สลับกันจนจบเพลง การก้าวเท้า เริ่มก้าวเท้าขวาตรงคำว่า

เพลงรำซิมารำ

 เพลงรำซิมารำ คำร้อง   จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) ทำนอง   อาจารย์มนตรี  ตราโมท             รำซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก    ยามงานเราทำงานจริง ๆ ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขลุก   ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์   ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม   เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ   มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย   ความหมาย  ขอพวกเรามาเล่นรำวงกันให้สนุกสนานเถิดในยามว่างเช่นนี้จะได้คลายทุกข์  ถึงเวลางานเราก็จะทำงานกันจริงๆ เพื่อจะได้ไม่ลำบาก และการรำก็จะรำอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามวัฒนธรรมไทยของเราแล้วจะดูงดงามยิ่ง  ท่ารำส่าย      แขนทั้งสองตึงโดยมือซ้ายหงายระดับไหล่ มือขวาคว่ำอยู่ระดับเอว มือซ้ายวาดแขนลงระดับเอว พร้อมกับพลิกมือขวาหงายขึ้นระดับไหล่ สลับกันเช่นนี้จนจบเพลง  ส่วนเท้าก้าวตามจังหวะ เมื่อถึงเนื้อเพลงที่ว่า "เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ" ให้ฝ่ายหญิงกลับหลังหันตามจังหวะเพลง หมุนตัวทางซ้าย เดินเปลี่ยนที่กับฝ่ายชายเป

เพลงชาวไทย

  เพลงชาวไทย คำร้อง   จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) ทำนอง   อาจารย์มนตรี  ตราโมท     ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่   การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้   เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์   เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ   เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเรา เอย   ความหมาย  หน้าที่ที่ชาวไทยพึงมีต่อประเทศชาตินั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ อย่าได้ละเลยไปเสีย  ในการที่เราได้มาเล่นรำวงกันอย่างสนุกสนาน ปราศจากทุกข์โศกทั้งปวงนี้ก็เพราะว่าประเทศไทยเรามีเอกราช ประชาชนมีเสรีในการคิดจะทำสิ่งใดๆ  ดังนั้น เราจึงควรช่วยกันเชิดชูชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป เพื่อความสุขยิ่งๆ ขึ้นของไทยเราตลอดไป   ท่าชักแป้งผัดหน้า        มือขวาจีบปรกข้าง มือซ้ายวงหน้า เอียงขวา ลดแขนเลื่อนมือขวาลงมาอยู่ระดับอก ปล่อยจีบเป็นแบมือหงาย มือซ้ายจีบคว่ำ มือซ้ายเลื่อนมาเป็นจีบปรกข้างด้านซ้าย ส่วนมือขวาตั้งวงหน้า เอียงซ้าย ลดแขนเลื่อนมือมาอยู่ระดับอก มือซ้ายปล่อยจีบเป็นแบหงาย มือขวาจีบคว่ำ ทำท่าเช่นนี้สลับไปมาจน

เพลงงามแสงเดือน

  เพลงงามแสงเดือน คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ) เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย ความหมาย ยามที่แสงจันทร์ส่องมายังโลกทำให้โลกนี้ดูสวยงาม ผู้คนที่มาเล่นรำวงยามที่แสงจันทร์ส่อง ก็มีความงดงามด้วย การรำวงนี้เพื่อให้มีความสนุกสนาน มีความสามัคคีกัน และละทิ้งความทุกข์ให้หมดสิ้นไป งามแสงเดือน ท่าสอดสร้อยมาลา มือซ้ายจีบหงายที่ชายพก (ระดับหัวเข็มขัด) มือขวาตั้งวงสูงระดับหางคิ้ว (ชายตั้งวงระดับศีรษะ) เอียงซ้าย มาเยือนส่องหล้า เลื่อนมือซ้ายที่จีบให้ห่างออกจากลำตัวเล็กน้อย แล้วปล่อยจีบเป็นมือแบหงาย มือขวาจีบคว่ำ งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ) มือซ้ายพลิกข้อมือขึ้นตั้งวง มือขวาเลื่อนวงลงข้างลำตัวเล็กน้อย แล้วเปลี่ยนจากวงเป็นจีบหงายที่ชายพก เปลี่ยนเป็นเอียงขวา ทำเช่นนี้สลับกันซ้ายขวา เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย หญิงหมุนตัวไปทางด้านซ้ายแล้วเปลี่ยนมือ คำว่า "เราเล่น&

การแสดงรำและระบำ

   การแสดงรำและระบำ  รำวงมาตรฐาน รำวง รำโทน เพลงช้าเพลงเร็ว เพลงหน้าพาทย์ แม่บทเล็ก แม่บทใหญ่ รำถวายพระพรพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รำถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ รำบายศรีสู่ขวัญ รำอวยพรอ่อนหวาน ระบำไกรลาศสำเริง ระบำเทพบันเทิง ระบำสุโขทัย ระบำทวารวดี ระบำเชียงแสน ระบำลพบุรี ระบำศรีชัยสิงห์์ ระบำศรีวิชัย มโนราห์บูชายัญ ระบำไตรรัตน์ ฉุยฉายนาฏศิลป์   ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายพราหมณ์ ฉุยฉายเบญกาย รำสีนวลออกอาหนู รำสีนวลวรเชษฐ์ ระบำกฤดาภินิหาร ฟ้อนอวยพร ฟ้อนลาวแพน  ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนเงี้ยว ระบำตารีกีปัส รำเชิญพระขวัญ รำสี่ภาค รำชุมนุมเผ่าไทย เซิ้งกระติบ เซิ้งโปงลาง แพรวากาฬสินธุ์ การละเล่นพื้นเมือง

รำวงมาตรฐาน

  รำวงมาตรฐาน   รำวงมาตรฐาน วิวัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่ ท่ารำ   คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก คุณครูมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ ทำนอง อาจารย

ลักษณะการรำไทย

  ลักษณะการรำไทย การฟ้อนรำที่ดีเด่นจะต้องมีลักษณะที่งดงาม หรือลีลาท่ารำที่งดงาม ผู้รำจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้อง กลมกลืนกันไปทุกส่วนของร่างกาย การฝึกหัดการเคลื่อนไหวมือและเท้า ในวงการละครไทยเรียกว่า "นาฏยศัพท์" นาฏยศัพท์  หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ ประเภทของนาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑.  นามศัพท์  หมายถึง ศัพท์ที่เรืยกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ ม้วนมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่ ๒.  กิริยาศัพท์  หมายถึงศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา แบ่งออกเป็น ๒.๑  ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ตึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว ห