บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า

 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า  เป็นการละเล่นที่แสดงวิธีชีวิตอันสนุกของชาวบ้านหมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการร้องรำ เกี้ยวพาราสีระหว่างชาย-หญิง เริ่มการแสดงด้วยการประโคมกลองยาว จบแล้วผู้แสดงชาย-หญิง ออกรำทีละคู่ ประวัติความเป็นมา      รำเหย่อย  เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของไทยที่นิยมเล่นกันในบางหมู่บ้าน  บางท้องถิ่นของภาคกลางนอกตัวจังหวัดเท่านั้น  ไม่สู้จะแพร่หลายนัก  การละเล่นประเภทนี้ดูแทบจะสูญหายไป  กรมศิลปากรได้พิจารณาเห็นว่าการเล่นรำเหย่อยมีแบบแผนการเล่นที่น่าดูมาก  ควรรักษาให้ดำรงอยู่และแพร่หลายยิ่งขึ้น  จึงได้จัดส่งคณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปรับการฝึกหัดและถ่ายทอดการละเล่นเพลงเหย่อยไว้จากชาวบ้านที่หมู่บ้านเก่า  ตำบลจระเข้เผือก  อำเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี  เมื่อเดือนมิถุนายน  2506  แล้วนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในโอกาสที่รัฐบาลจัดการแสดงถวายสมเด็จพระรามาธิบดีแห่งมาเลเซีย  ณ  หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่  25 กุมภาพันธ์  2507      คำร้องแต่งขึ้นตามแบบแผนของการรำเหย่อยใช้ถ่อยคำพื้น ๆ ร้องโต้ตอบกันด้วยกลอนสด เป็นการร้องเ