บทความ

รำคล้องหงส์

 รำคล้องหงส์ แฟนโนราตัวจริงคงเคยเห็นหรือเคยได้ยินคำว่า "คล้องหงส์" อันเป็นพิธีกรรมของโนราอีกอย่างหนึ่ง แม้ในปัจจุบันพิธีกรรมนี้ก็ยังมีอยู่ไม่ขาดหาย เพียงแต่ว่านานๆ เราจึงจะได้ดูกันสักครั้ง     คล้องหงส์ เป็นการรำโนราลักษณะหนึ่งถือกันว่าเป็นศิลปะขั้นสูงสุดของการรำโนรา ผู้ที่รำได้ต้องผ่านการฝึกหัดมาอย่างดี และ ผู้ที่เป็นนายโรงได้อย่างสมบูรณ์จะต้องสามารถรำคล้องหงส์ได้ มิเช่นนั้น โนราคณะนั้นจะไม่สามารถรำแก้บนหรือออกงานสำคัญๆ ได้ การรำคล้องหงส์มีโอกาสที่ใช้เพียง 2 โอกาสเท่านั้น คือ ใช้ในพิธีครอบเทริด และผูกผ้าใหญ่ (ครอบมือ) ให้แก่ศิษย์ที่ฝึกรำจนชำนาญแล้ว และรำในพิธีแก้บน ซึ่งถือกันว่ารำแก้บนนั้น ถ้าไม่มีการรำคล้องหงส์การแก้บนจะไร้ผล คือแก้บนไม่ขาด     การรำคล้องหงส์แม้จะใช้ผู้แสดงหลายคน แต่ตัวสำคัญมี 2 ตัว คือ "พราน" ซึ่งเป็นตัวตลกประจำโรงที่สวมหน้ากากพรานแสดง และ "พญาหงส์" คือ ตัวนายโรงหรือหัวหน้าคณะหรือที่เรียกกันว่า โนราใหญ่ ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่จะร้องถูกคล้องด้วยบ่วง นอกจากนั้น ผู้รำทุกคนของคณะที่มาร่วมรำในงานพิธีกรรมนั้นๆ จะต้องสมมุติตัวเป็นหงส์บริวาร ออกมาร

รำแทงเข้

  รำแทงเข้            เหตุที่มีการรำแทงเข้ได้รำกันต่อๆมาในการรำมโนราโรงครู เพราะตามเรื่องในประวัติว่า เมื่อพวกอำมาตย์ของพระยาสายฟ้าฟาดได้ไปพาตัวนางนวลทองสำลีมาแล้ว เมื่อถึงปากน้ำจะเข้าเมืองมีจระเข้นอนขวางปากน้ำอยู่ เรื่อเข้าไปไม่ได้จึงได้มีการแทงเข้เสียก่อนเรือจึงจะเข้าไปได้ แต่ตามที่เห็นคือการแสดงเรื่องไกรทอง การแทงเข้เป็นการเล่นโรงครูเพื่อแก้บนเช่นเดียวกัน การเล่นเขาเล่นเป็นเรื่องให้พรานเป็นจระเข้ (การทำรูปจระเข้ทำด้วยหยวกกล้วย มีการทำอย่างประณีตบรรจง มีการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายกระหนกงกงอนสวยงามน่าดู คนแทงหยวกให้สวยงามต้องมีฝีมือดีเป็นพิเศษ ปัจจุบันหาดูได้ยากมาก และกำลังจะหมดไป) การแทงเข้ มโนราใหญ่หรือนายโรงจะเป็นผู้แทง การรำแทงเข้นี้รำกันนานมาก

หมอลำ

  หมอลำ ภาค     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัด  อุบลราชธานี อุปกรณ์วิธีเล่น ประกอบด้วยผู้แสดงและผู้บรรเลงดนตรีคือ หมอแคน แบ่งประเภทหมอลำดังนี้ ๑. หมอลำพื้น ประกอบด้วยหมอลำ ๑ คน หมอแคน ๑ คน ๒. หมอลำกลอน ประกอบด้วย หมอลำ ๒-๓ คน และหมอแคน ๑-๒ คน ๓.หมอลำเรื่องต่อกลอน ประกอบด้วยหมอลำหลายคน เรียก หมอลำหมู่ ดนตรีประกอบคือ แคน พิณ ฉิ่ง กลอง และเครื่องดนตรีสากล ๔. หมอลำเพลิน ประกอบด้วยหมอลำหลายคนและผู้บรรเลงดนตรีหลายคน โอกาสหรือเวลาที่เล่น เป็นมหรสพที่ใช้ในงานเทศกาลประจำเดือน งานบวช งานกฐิน งานวันเกิด งานศพ ฯลฯ เป็นมหรสพที่ประชาชนชาวอีสานในอดีตนิยมชมชื่นมาก คุณค่า แนวคิด / สาระ ๑. บทบาทด้านพิธีกรรม อาทิการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ทำนายโชคชะตาบ้านเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ๒. บทบาทในฐานะมหรสพ เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เช่น การลำเกี้ยวพาราสีของหมอลำชาย-หญิง บางขณะก็แทรกคติธรรม จริยธรรม และความรู้ด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณี เหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันแก่ผู้ฟัง

มอญรำ นาฏศิลป์ชั้นสูงของชาวมอญ

  มอญรำ นาฏศิลป์ชั้นสูงของชาวมอญ มอญรำ มอญรำ เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของชาวมอญ มักแสดงในงานสำคัญๆ เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง รำหน้าศพ คนมอญเรียกการแสดงนี้ว่า ปัวฮะเปิ่น ปัว แปลว่า มหรสพ ฮะเปิ่น แปลว่า ตะโพน ซึ่งแปลตรง ๆ หมายถึงงานแสดงมหรสพที่อาศัยตะโพนเป็นหลัก ในการแสดงนั้นนักดนตรีและผู้รำจะต้องเข้าใจกัน โดยผู้รำจะต้องทิ้งมือให้ลงกับจังหวะของตะโพน ประวัติ “มอญรำ” ในเมืองไทยนั้น นายพิศาล บุญผูก ชาวมอญเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี กล่าวไว้ว่า ย่าของตนชื่อนางปริก ชาวเรือหัก เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ มีพี่ชายชื่อเดช เป็นนักดนตรีปี่พาทย์มอญ พื้นเพเดิมอยู่ที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เคยไปรับจ้างแสดงดนตรีที่บ้านกะมาวัก เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่าเสมอ ๆ (ช่วงก่อนหน้านั้นชาวมอญถูกพม่ากวาดล้างและพยายามกลืนชาติ ไม่ให้มอญได้แสดงออกในศิลปวัฒนธรรมของตน นาฏศิลป์ ปี่พาทย์ มอญรำ จึงได้เลือนหายไปมาก หลังอังกฤษเข้าปกครองพม่าได้เปิดโอกาสให้ชนชาติต่าง ๆ ในพม่าได้แสดงออกในศิลปวัฒนธรรมของตน โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองได้อย่างเสรี ชาวมอญจึงมีการรวมตัวกันฟื้นฟูนาฏศิลป์ดนตรีของตนขึ้น ทว่ามีส่วนที่เล

พิธีรำคล้องหงส์ (รำโนราโรงครูท่าแค)

  พิธีรำคล้องหงส์ (รำโนราโรงครูท่าแค)         โนราโรงครูเป็นการแสดงโนราประกอบพิธีกรรมที่ปรากฏอยู่ในวิถีของคนภาคใต้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการแสดง ๓ ประการ คือ เพื่อเป็นการเคารพบูชาและแสดงความกตัญญูต่อวิญญาณบรรพบุรุษ เพื่อแก้บนหรือแก้เหมฺรย และเพื่อทำพิธีครอบครูโนราและรักษาโรคต่าง ๆ         การแสดงโนราโรงครูจะมี ๒ ประเภท คือ ๑) การแสดงโนราโรงครูใหญ่ เป็นการแสดงโนราโรงครูสมบูรณ์แบบถูกต้องครบถ้วนตามประเพณีและนิยมแสดงโดยทั่วไปใช้เวลา ๓ วัน ๒ คืน ๒) การแสดงโนราโรงครูเล็กหรือโรงค้ำครู เป็นการแสดงเพื่อยืนยันว่าจะมีการจัดโรงครูใหญ่อย่างแน่นอน ใช้เวลาแสดง ๑ วัน ๑ คืน การแสดงโนราโรงครูซึ่งจัดโดยทั่วไปจะเริ่มในเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายนเริ่มพิธีในวันพุธถึงวันศุกร์ การแสดงโนราโรงครูจะมีองค์ประกอบและรูปแบบการแสดงโนราสมบูรณ์ครบถ้วนทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรำ การร้อง การแสดงเป็นเรื่อง และการบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรมที่ทำให้เกิดศิลปะการแสดงโนราสืบทอดต่อมาอย่างยั่งยืน เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ร่วมประกอบพิธีกรรมโดยเรียบง่ายไม่ซับซ้อนและเข้าถึงพิธีกรรมได้อย่

ทะแยมอญ (ซะมาแขวก)

 ทะแยมอญ (ซะมาแขวก) ทะแยมอญ   เป็นชื่อที่คนไทยเรียกการแสดงอย่างหนึ่งของคนมอญ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำในภาษามอญว่า แต็ะแหฺย็ะฮ์ หมายถึงการขับร้อง  ทะแยมอญเป็นการละเล่นหรือการแสดงของชาวมอญที่มีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์(ร้อง โต้ตอบกัน)คล้ายกับการเล่นเพลงพื้นเมืองของไทย เช่น เพลงลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเพลงเรือ แต่ไม่มีการร้องหยาบคาย โดยจะมีนักร้องฝ่ายชาย (แหม็ะแขวกนิฮ์เตราะฮ์) และนักร้องฝ่ายหญิง (แหม็ะแขวกนิฮ์แปร-า)  ร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ ๆ พร้อมกับการร่ายรำประกอบ สำหรับคำร้องนั้นแต่เดิมเป็นภาษามอญล้วน ๆ  แต่ในปัจจุบันมีการประยุกต์คำร้องมีทั้งที่เป็นภาษามอญล้วน ๆ และที่เป็นภาษามอญปนไทย มักใช้กับทำนองเพลงสมัยใหม่ เช่น เพลงลูกทุ่ง เป็นต้น  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงการละเล่นทะแยมอญ ได้แก่วงโกร่กฺยาม ซึ่งประกอบด้วยดนตรี ๕ ชิ้น       คือ ซอ (โกร่)   จะเข้มอญ (กฺยาม)   ขลุ่ย (อะโลด)   เปิงมาง (ปุงตัง) และฉิ่ง (คะเด)  และเนื่องจากมีการประยุกต์ทำนองเพลงสมัยใหม่มาใช้ร้องจึงต้องเพิ่มซอด้วงทำ ทำนองอีก ๑ ชิ้น  โดยจะปรับเสียงให้เข้ากับซอมอญ อีกทั้งเพิ่ม ฉาบเล็ก กรับ และกลองรำวง สำหรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะอี

ซัมเปง

  ซัมเปง ซัมเปง เป็นนาฏศิลป์แบบหนึ่งของชาวไทยมุสลิมทางชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีลีลาการเต้นคล้ายคลึงกับการเต้นรองเง็ง เป็นการเต้นรำพื้นบ้านที่นิยมกันในหมู่บ้านชาวไทยเชื้อสายมลายู ซัมเป็งแพร่เข้ามายังแหลมมลายูเป็นการเต้นรำเฉพาะในวังของเจ้าเมืองและบ้านขุนนางเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง การแต่งกาย ผู้หญิง แต่งหน้าทาปากแต่งผมพร้อมเครื่องประดับศีรษะสวยงาม นุ่งผ้า “กาเอนบือเละ” (ผ้าถุง) ยาวกรอมเท้าลาดลายปาเต๊ะ สวมเสื้อ “กูรง” คือเสื้อเข้ารูปยาวคลุมสะโพก คอกลมติดผ่าหน้ากว้างพอสวมศีรษะได้ (หรือผ่าหน้าตลอดติดกระดุมทอง) แขนยาวทรงกระบอกมีผ้าผืนใหญ่บางคลุมไหล่ใส่เครื่องประดับ เช่น สร้อย แหวน กำไร ต่างหู เข็มขัด ฯลฯ อย่างสวยงาม ประวัติความเป็นมา มีผู้สันนิษฐานว่า เป็นการเต้นที่ได้นำเอาลีลาการเต้นระบำแบบฝรั่งชาติสเปน มาผสมผสานกับลีลาการเต้นรำของชาวพื้นเมืองในแหลมมลายู เช่นเดียวกับการเต้น รองเง็ง โอกาสที่แสดง การเต้นซัมเปงใช้แสดงในโอกาสต้อนรับแขกสำคัญของท้องถิ่นหรือเต้นโชว์ เมื่อเวลามีงานรื่นเริง ส่วนสถานที่นั้นอาจจะเป็นบนเวทีหรือในลานบ้านตามแต่ความ เหมาะสม และจะแสดงในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ เ

โนราแขก

    โนราแขก  เป็นชื่อไทยที่ใช้เรียกการแสดงโนราที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นที่มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ชาวไทยพุทธและคนไทยมุสลิมอยู่ใกล้ชิดกัน เป็นพิธีกรรมโรงครูตามแบบแผนที่สร้างขึ้นเฉพาะถิ่นของตนในตอนใต้สุดของไทยในจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี เดิมเรียกว่าโนราควน ต่อมาได้เปลี่ยนคำเรียกจาก "โนราควน "มาเป็น "โนราแขก”เป็นการแสดงผสมผสานระหว่างโนรากับมะโย่ง        โนราแขกเป็นการแสดงที่ปรับเปลี่ยนมาจากการแสดงโนราของชาวไทยพุทธและการแสดงมะโย่งของชาวไทยมุสสลิม มีการร้องและการแสดงเป็นเรื่อง ผู้แสดงสำคัญคือ พ่อโนรา นางรำ และพราน ซึ่งจะนำเอกลักษณ์ของโนราและมะโย่ง ในเรื่องของการร่ายรำ การแต่งกาย การขับร้อง และดนตรีมาใช้แสดงร่วมกัน คือพ่อโนราแต่งกายแบบโนรา ขับร้องและเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามาลายูถิ่น ส่วนนางรำชาวไทยมุสสลิม แต่งกายแบบพื้นเมือง ขับร้องและเจรจาเป็นภาษามาลายูถิ่น ร่ายรำแบบโนราและมะโย่ง พรานขับร้องเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามาลายูถิ่น ผู้ชมทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสสลิมจะดูโนราแขกร่วมกันด้วยความสนุกสนานและเข้าใจในศิลปะการแสดง ซึ่งโนราแขกนั้นยังมีบทบาทในสังคมภาคใต้ อาทิ เป็นเค

การแสดงมโนราห์

 การแสดงมโนราห์ มโนราห์ หรือ โนราเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมของคนในภาคใต้ องค์ประกอบหลักในการแสดงโนรา คือเครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี nr001เครื่องแต่งกายประกอบด้วย เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง เครื่องลูกปัดร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่ง ทับทรวงปีกหรือหางหงส์ ผ้านุ่ง สนับเพลา ผ้าห้อยหน้า ผ้าห้อยข้างกำไลต้นแขน-ปลายแขน และเล็บ ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องแต่งกายของโนราใหญ่หรือโนรายืนเครื่อง ส่วนเครื่องแต่งกายของตัวนางหรือนางรำเรียกว่า "เครื่องนาง” ไม่มีกำไลต้นแขนทับทรวง และปีกนกแอ่น เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้ จังหวะ ประกอบด้วย ทับ (โทนหรือทับโนรา) มี ๒ ใบ เสียง ต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญ ที่สุด เพราะทำหน้าที่คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยน จังหวะทำนองตามผู้รำ กลองทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและ ล้อเสียงทับ ปี่ โหม่ง หรือฆ้องคู่ ฉิ่ง และแตระ โนรามีการแสดง ๒ รูปแบบ คือ โนราประกอบ พิธีกรรม (โนราโรงครู) และโนราเพื่อความบันเทิง ซึ่งมี ความแตก

ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์

  ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์ ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์ เนื่องจากปี 2550 นี้ เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชมมายุ 80 พรรษา ปวงชนชาวไทย ต่างน้อมรำลึก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ชมรมฯ จึงได้จัดชุดการแสดงเพื่อสดุดีและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสนี้ด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2550 เนื่องในโอกาสที่ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสานจุฬาฯ ครบรอบ 30 ปี ทางชมรมฯ ได้คิดการแสดง “ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์” ขึ้น เพื่อสดุดีและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคุณกิตติศักดิ์ แก้งทอง เป็นผู้ออกแบบท่ารำและเครื่องแต่งกาย มังกรเดียวดาย แต่งเพลงประกอบ และแสดงครั้งแรกในงาน “ไอดินถิ่นอีสาน อลังการวัฒนธรรม 30ปีอีสานจุฬาฯ” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2550 ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์ ใช้ผู้หญิงล้วน โดยจำนวนช่างฟ้อนเป็นคู่ ซึ่งในงาน30ปีอีสานจุฬาฯ ใช้ช่างฟ้อน 12 คน ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์ เครื่องแต่งกายช่างฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์ นุ่งผ้าซิ่น เสื้อแขนกระบอกสีเหลือง ห่มสไบจกหรือแพรวาสีเขียว เฉียงไหล่ด้วยสายสังวาลเงิน หน้าอกซ้ายประดับดอกไม้สีม่วง เกล้าผม รัดเกล้าด้วยฝ้ายสีขาว ใส่เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู กำไลเงิน

ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์

 ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ ชาวภูไทดำในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง  อำเภอคำม่วง และอำเภอสมเด็จ การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนประกอบทำนองหมอลำภูไท ซึ่งเป็นทำนองพื้นเมืองประจำชาชาติพันธุ์ภูไท ซึ่งปกติแล้วการแสดงหมอลำภูไท มักจะมีการฟ้อนรำประกอบกันไปอยู่แล้ว ซึ่งทำให้การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ในแต่ละอำเภอหรือหมู่บ้าน จะมีท่าฟ้อนที่แตกต่างกัน การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนที่ได้การปรับปรุงท่ามาจากท่าฟ้อนภูไท ท่าฟ้อนในเซิ้งบั้งไฟ และท่าฟ้อนดอนตาล ประกอบด้วยท่าฟ้อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว ฯลฯ ซึ่งผู้ฟ้อนจะเป็นผู้หญิงทั้งหมด ท่าฟ้อนของชาวภูไทได้ถูกรวบรวมโดย นายมณฑา ดุลณี ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนภูไทให้เป็นระเบียบ 4 ท่าหลัก ส่วนท่าอื่นๆนั้น คณะครูหมวดนาฏศิลป์พื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์โดยได้นำเอาการฟ้อนของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง  อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอคำม่วง  รวบรวมเอาไว้ด้วยกั

ฟ้อนตำนานท้องนา

  ฟ้อนตำนานท้องนา ฟ้อนตำนานท้องนา..ไถนา ผู้คนในภูมิภาคอีสาน มีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม บริโภคข้าวเหนียวเป็นส่วนใหญ่ ข้าวเหนียวที่บริโภค เป็นผลผลิตในครัวเรือน กว่าจะได้ข้าวเหนียว ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง วิถีชีวิตชาวนาอีสาน เกี่ยวพันกับท้องนาอย่างไรบ้าง เป็นคำถามที่หลายคนที่ไม่ใช่ชาวนาอยากรู้ แต่สำหรับชาวนา ลูกชาวนาที่เคยผ่านวิถีชีวิตแห่งท้องนา เติบโตมากับท้องนา ย่อมจะรู้สึกถึงความรัก ความผูกพัน ความกลมเกลียวแห่งชุมชน รู้สึกถึงความผูกพันกับท้องนา ไอดินที่เคยดม ยังหอมติดใจอยู่มิเสื่อมคลาย กลิ่นอายแห่งอีสานยังอยู่ในความทรงจำไม่เลือนหาย เรื่องราวแห่งท้องนา เป็นเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ เท่าๆ กับข้าวที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน เมื่อปี พ.ศ. 2550 เนื่องในโอกาสที่ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสานจุฬาฯ ครบรอบ 30 ปี ทางชมรมฯ ได้คิดการแสดง “ฟ้อนตำนานท้องนา” ขึ้น เพื่อนำเสนอความเป็นมาของข้าวเหนียวผ่านการฟ้อนรำประกอบดนตรี โดยคุณกิตติศักดิ์ แก้งทอง เป็นผู้ออกแบบท่ารำและเครื่องแต่งกาย มังกรเดียวดาย เรียบเรียงลายเพลง และแสดงครั้งแรกในงาน “ไอดินถิ่นอีสาน อลังการวัฒนธรรม 30ปีอีสานจุฬาฯ” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2550 ฟ้อนตำนานท้อ

ฟ้อนอุ่นไอดิน

  ฟ้อนอุ่นไอดิน ฟ้อนอุ่นไอดิน เมื่อพูดถึง “ไอดิน”  ภาพพจน์ที่ติดอยู่ในความทรงจำ คือ พอฝนตกโรยรดดินอันแห้งระอุ ดินคายไอน้ำออกมา ไอน้ำนั้น คือไอดิน ซึ่งมีกลิ่นหอม “ไอดินถิ่นอีสาน” ก็คือ กลิ่นหอมกรุ่นแห่งไอดินแดนอีสานบ้านเฮา ซึ่งหมายความถึง วิถีชีวิตของชาวอีสาน ยังหอมอบอวนอยู่ในใจพวกเราทุกคน นอกจากนั้น แดนอีสาน ยังมีศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นเฉพาะตน ซึ่งมีคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์และเผยแพร่ เป็นวัฒนธรรมที่อลังการ เป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2550 เนื่องในโอกาสที่ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสานจุฬาฯ ครบรอบ 30 ปี ทางชมรมฯ ได้คิดการแสดง “อุ่นไอดิน” ขึ้น โดยคุณกิตติศักดิ์ แก้งทอง เป็นผู้ออกแบบท่ารำและเครื่องแต่งกาย มังกรเดียวดาย แต่งคำร้องและทำนองเพลงประกอบ และแสดงครั้งแรกในงาน “ไอดินถิ่นอีสาน อลังการวัฒนธรรม 30ปีอีสานจุฬาฯ” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2550 ฟ้อนอุ่นไอดิน ใช้ผู้หญิงล้วน โดยจำนวนช่างฟ้อนเป็นคู่ ซึ่งในงาน30ปีอีสานจุฬาฯ ใช้ช่างฟ้อน 12 คน ฟ้อนอุ่นไอดิน เครื่องแต่งกายช่างฟ้อนอุ่นไอดิน  นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ เสื้อแขนกระบอกสีดำ ขลิบสาบเสื้อลายขิดสีแดง ห่มสไบแพรวาสีแดง เกล้าผม รัดเกล้าด้วยฝ้า

มวยโบราณ

มวยโบราณ  ภาคอีสานในสมัยโบราณก่อนที่จะมีมวยคาดเชือก มวยเวที มีมวยแบบหนึ่งเรียกกันหลายชื่อ เช่น มวยลาว บ้าง เสือลากหาง บ้าง มวยดังกล่าวนี้นิยมฝึกหัดตามคุ้มวัดตามหมู่บ้าน เพื่อให้มีกำลังวังชา สามารถต่อสู้ป้องกันตัวได้ และในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงความสวยงามของลีลาท่ารำท่าฟ้อน มีการร่ำเรียนเวทมนต์คาถา เสกเป่าหมัดเข่าให้มีพละกำลังแข็งแกร่งจนคู่ต่อสู้ทำอันตรายไม่ได้ ในปัจจุบันจังหวัดสกลนครเป็นแหล่งเดียวที่ยังมีมวยโบราณในงานเทศกาลงานบุญประเพณี เช่น เทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาในเทศกาลออกพรรษา ในเทศกาลงานบุญเหล่านี้ ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่ของคุ้มวัดเข้าร่วมขบวนอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะชาวสกลนครในเขตรอบๆตัวเมือง ถือกันมาแต่โบราณว่าเมื่อถึงเทศกาลบุญพระเวสเทศน์มหาชาติแล้ว ชาวคุ้มจะจัดเป็นขบวนแห่ฟ้อนรำไปตามถนน ผ่านหน้าบ้านผู้คนเพื่อบอกบุญ ทำบุญร่วมกันถวายแด่องค์พระธาตุเชิงชุม ขบวนแห่ของชาวคุ้ม นอกจากจะประกอบด้วยผู้คนทั้งหนุ่มสาว เฒ่าชราแต่งกายสวยงามตามแบบพื้นเมือง ฟ้อนรำไปตามถนนหนทางแล้ว ยังมีนักมวยของแต่ละคุ้มนำหน้าขบวนเป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น นักมวยแต่ละคนจะนุ่งโจงกระเบนหยักรั้งปล่อยชายกระเบนห้อยลงมาพองาม ด