รำคล้องหงส์
รำคล้องหงส์ แฟนโนราตัวจริงคงเคยเห็นหรือเคยได้ยินคำว่า "คล้องหงส์" อันเป็นพิธีกรรมของโนราอีกอย่างหนึ่ง แม้ในปัจจุบันพิธีกรรมนี้ก็ยังมีอยู่ไม่ขาดหาย เพียงแต่ว่านานๆ เราจึงจะได้ดูกันสักครั้ง คล้องหงส์ เป็นการรำโนราลักษณะหนึ่งถือกันว่าเป็นศิลปะขั้นสูงสุดของการรำโนรา ผู้ที่รำได้ต้องผ่านการฝึกหัดมาอย่างดี และ ผู้ที่เป็นนายโรงได้อย่างสมบูรณ์จะต้องสามารถรำคล้องหงส์ได้ มิเช่นนั้น โนราคณะนั้นจะไม่สามารถรำแก้บนหรือออกงานสำคัญๆ ได้ การรำคล้องหงส์มีโอกาสที่ใช้เพียง 2 โอกาสเท่านั้น คือ ใช้ในพิธีครอบเทริด และผูกผ้าใหญ่ (ครอบมือ) ให้แก่ศิษย์ที่ฝึกรำจนชำนาญแล้ว และรำในพิธีแก้บน ซึ่งถือกันว่ารำแก้บนนั้น ถ้าไม่มีการรำคล้องหงส์การแก้บนจะไร้ผล คือแก้บนไม่ขาด การรำคล้องหงส์แม้จะใช้ผู้แสดงหลายคน แต่ตัวสำคัญมี 2 ตัว คือ "พราน" ซึ่งเป็นตัวตลกประจำโรงที่สวมหน้ากากพรานแสดง และ "พญาหงส์" คือ ตัวนายโรงหรือหัวหน้าคณะหรือที่เรียกกันว่า โนราใหญ่ ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่จะร้องถูกคล้องด้วยบ่วง นอกจากนั้น ผู้รำทุกคนของคณะที่มาร่วมรำในงานพิธีกรรมนั้นๆ จะต้องสมมุติตัวเป็นหงส์บริวาร ออกมาร