บทความ

กำหนดวันและเดือนที่นิยมประกอบพิธีไหว้ครู

 กำหนดวันและเดือนที่นิยมประกอบพิธีไหว้ครู การจัดพิธีไหว้ครูมีข้อกำหนดว่าให้กระทำพิธีเฉพาะวันพฤหัสบดี อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากพวกพราหมณ์ ซึ่งนับถือเทพเจ้านามพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤทธิ์ ในฐานะปุโรหิตาจารย์ที่เคารพนับถือของพระอินทร์และเทวดาอื่นๆ จึงนิยมไหว้ครูกันในวันพฤหัสบดี มีตำนานที่ถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู นอกจากนี้ยังถือกันว่า เวลากลางวันพระพฤหัสบดีเป็นธาตุไฟ และเป็นธาตุน้ำในเวลากลางคืน เป็นดาวพระเคราะห์ที่ให้วิทยาความรู้แก่มนุษย์ เราจึงถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครู ตามแบบโบราณนิยมให้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูในเดือนคู่ เช่น เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐ เดือน ๑๒ และเดือนยี่ แต่มีข้อยกเว้นเดือนเดียวคือ เดือน ๙ อนุโลมให้จัดพิธีได้ เพราะถือกว่า ๙ เป็นเลขมงคลของไทยสืบมา  ในบางครั้งตามคติโบราณ ยังต้องระบุจันทรคติเพิ่มขึ้นด้วย โดยพิจารณาอีกว่าตรงกับวันขึ้นแรมข้างใด จะนิยมวันพฤหัสบดีข้างขึ้น นับว่าเป็นมงคลยิ่ง เพราะข้างขึ้นถือว่าเป็น "วันฟู" เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง   การตั้งเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย -   ที่สำหรับครูปัธยาย  จัดเครื่องสังเว

พิธีไหว้ครูนาฎศิลป์

 พิธีไหว้ครูนาฎศิลป์ การไหว้ครูนับเป็นวัฒนธรรมไทยแบบหนึ่ง เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามในส่วนที่เกี่ยวกับกิริยามายาท สัมมาคารวะ และมีส่วนที่จะโน้มน้าวจิตใจมนุษย์ให้รักษาคุณความดี รักษาวิทยาการสืบเนื่องไปด้วยดี ทั้งยังจูงใจให้เป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง การไหว้ครู คือ การแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์และครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะมานะอดทน เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า ประวัติการไหว้ครู การประกอบพิธีไหว้ครูนั้นได้มีการกำหนดระเบียบแบบแผน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติโดยการบอกเล่าต่อๆ กันมาเป็นมุขปาฐะ  ตำราพิธีไหว้ครูและครอบโขน-ละครของไทยมีอยู่ ๒ ฉบับ คือ สมุดไทยมีจำนวน ๓ เล่ม แต่คงเหลือเพียงเล่ม ๒ เล่มเดียว ส่วนเล่ม ๑ และ เล่ม ๓ หายไป มีนักปราชญ์ได้รวบรวมชำระทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราเป็นพิธีไหว้ครูครอบโขน-ละครฉบับหลวง ในรัชกาลที่ ๔ ส่วนอีกฉบับ

หลักในการชมนาฏศิลป์

 หลักในการชมนาฏศิลป์ ๑.  ควรศึกษาเกี่ยวกับท่ารำ  "ท่ารำ" ของนาฏศิลป์ไทยจัดได้ว่าเป็น "ภาษา" ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจถึงกิริยา อาการ และความรู้สึก ตลอดจนอารมณ์ของผู้แสดง มีทั้งท่ารำตามธรรมชาติและท่าที่ประดิษฐ์ให้วิจิตรสวยงามกว่าธรรมชาติ   ผู้ชมที่ดีจะต้องเรียนรู้ความหมายและลีลาท่ารำต่างๆ ของนาฏศิลป์ไทย ให้เช้าใจเป็นพื้นฐานก่อน ๒.  เข้าใจเกี่ยวกับภาษาหรือคำร้องของเพลงต่างๆ  การแสดงนาฏศิลป์จะต้องใช้ดนตรีและเพลงเข้าประกอบ ซึ่งอาจจะมีทั้งเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง  ในเรื่องเพลงร้องนั้นจะต้องมี "คำร้อง" หรือ เนื้อร้อง ประกอบด้วย  บทร้องเพลงไทยส่วนมากจะเป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ เป็นคำร้องที่แต่งขึ้นใช้กับเพลงนั้นๆ โดยเฉพาะ หรือนำมาจากวรรณคดีไทยตอนใดตอนหนึ่งก็ได้  ผู้ชมจะต้องฟังภาษาที่ใช้ร้อง ให้เข้าใจควบคู่กับการชมการแสดงด้วย จึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวนาฏศิลป์ที่แสดงอยู่ ๓.  มีความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีและเพลงต่างๆ  นาฏศิลป์จำเป็นต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบขณะแสดง ซึ่งอาจจะเป็นแบบพื้นเมืองหรือแบบสมัยนิยม  ผู้ชมจะต้องฟังเพลงให้เข้าใจทั้งลีล

คุณค่าจากการรำไทย

  คุณค่าจากการรำไทย ๑.  เพื่อการสื่อสาร  นาฏศิลป์ได้พัฒนาจากรูปลักษณ์ที่ง่าย และเป็นส่วนประกอบของคำพูดหรือวรรณศิลป์ ไปสู่การสร้างภาษาของตนเองขึ้นที่เรียกว่า "ภาษาท่ารำ" โดยกำหนดกันในกลุ่มชนที่ใช้นาฏศิลป์นั้นๆ ว่าท่าใดมีความหมายอย่างไร ๒.  เพื่องานพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ การฟ้อนรำเพื่อบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การรำแก้บน การฟ้อนรำอีกลักษณะหนึ่งเป็นการฟ้อนรำบูชาครู ไม่ได้แก้บนใด ๆ แต่เป็นการฟ้อนบูชาครู หรือเป็นพุทธบูชา เช่น การรำถวายมือในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย ๓.  เพื่องานพิธีการต่างๆ ได้แก่ พิธีการต้อนรับแขกเมืองสำคัญ พิธีแห่เทวรูปที่เคารพประจำปี เพื่อเป็นสิริมงคล พิธีฉลองงานสำคัญ เช่น งานวันเกิด งานวันครบรอบ ๔.  เพื่อความบันเทิงและการสังสรรค์  นาฏศิลป์ให้ความบันเทิงแก่ผู้มาร่วมงานต่างๆ เช่น การรำอวยพรในวันเกิด ในงานรื่นเริงต่างๆ ๕.  เพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาบุคลิกภาพ  การฝึกหัดรำไทยต้องอาศัยกำลังในการฝึกซ้อมและ ในการแสดงอย่างมาก เหมือนกับได้ออกกำลังกายอยู่ตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นหรือบำบัดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้กระฉับกระเฉง ไม่เครียด เป็นการสร้างเสริมบุคคลิกภาพและม

ความสำคัญของการฟ้อนรำไทย

 ความสำคัญของการฟ้อนรำไทย    การฟ้อนรำของไทย มีลักษณะเฉพาะตัว และมีความเป็นไทยในตัวเองเป็นอย่างยิ่ง เป็นศิลปะประจำชาติ ไม่ซ้ำหรือเหมือนของชาติอื่น นับว่าเป็นสมบัติอันเป็นวัฒนธรรมของชาติที่น่าภูมิใจยิ่ง ลักษณะของความเป็นไทย ได้แก่ ๑.  ท่ารำอันอ่อนช้อยงดงาม และแสดงอารมณ์ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทย มีความหมายอย่างกว้างขวาง ๒.  มีดนตรีประกอบ ดนตรีนี้จะแทรกอารมณ์ หรือรำกับเพลงที่มีแต่ทำนองก็ได้ หรือมีเนื้อร้องและให้ท่ารำไปตามเนื้อร้องนั้น ๆ ๓.  คำร้องหรือเนื้อร้องที่ใช้จะต้องเป็นคำประพันธ์ ส่วนบทจะเป็นกลอนแปด ซึ่งจะนำไปร้องกับเพลงชั้นเดียว หรือเพลง ๒ ชั้นได้ทุกเพลง ทำให้กำหนดท่ารำไปตามเนื้อร้องได้ ๔.  เครื่องแต่งกายละครไทย จะแตกต่างกับเครื่องแต่งกายละครของชาติอื่น มีแบบอย่างของตนโดยเฉพาะ ขนาดยืดหยุ่นได้ตามสมควร  เครื่องแต่งกายบางประเภท เช่น เครื่องแต่งกายยืนเครื่อง การสวมจะใช้วิธีตรึงด้วยด้าย แทนทีจะเย็บสำเร็จรูป

ระบำ รำ ฟ้อน

 ระบำ รำ ฟ้อน         นาฏศิลป์ เป็นการรวมความเป็นเลิศของศิลปะแขนงต่าง ๆ วิวัฒนาการมาพร้อมกับความเจริญของมนุษย์ โดยอาศัยพลังและเจตนา เป็นเครื่องผลักดันให้จิตกระตุ้นร่างกายให้แสดงการเคลื่อนไหว มีจังหวะ มีแบบแผน เพื่อให้เกิดความสุข ความเข้าใจ และความงดงามแก่ตนเองและผู้อื่น  นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติแต่โบราณ เป็นศิลปะชั้นสูง แยกประเภทการแสดงออกเป็นหลายแบบ ใช้ภาษาท่าเหมือนกัน แต่แยกลักษณะและประเภทการแสดงแตกต่างกัน   ขอบข่ายของนาฏศิลป์ไทย จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ โขน หนัง หุ่น ละครรำ ละครรำ ละครร้อง ละครสังคีต ละครพูด การละเล่นของหลวง การเล่นเบิกโรง การละเล่นพื้นเมือง         นาฏศิลป์ไทยประเภทต่างๆ ดังกล่าวมานี้ เรียกกันโดยทั่วไปว่า "มหรสพ" ซึ่งหมายถึงการเล่นรื่นเริง มีโขน ละคร หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ปัจจุบันมหรสพมีความหมายกว้างขวาง รวมไปถึงการเล่นรื่นเริงทุกชนิด มีระบำ รำ ฟ้อน เป็นต้น      ระบำ คือ ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุด ความงามของการแสดงระบำ อยู่ที่ความสอดประสานกลมกลืนกัน ด้วยความพร้อมเพรียงกัน  การแสดงมีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง ใช้เ

นาฏศิลป์

 นาฏศิลป์  นาฏศิลป์  หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม  ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ศิลปะของการร้องรำทำเพลง          การศึกษานาฏศิลป์ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ อันประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์         นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว ยังเป็นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบต่อไป    นาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาจาก ๑.  การเลียนแบบธรรมชาติ  แบ่งเป็น ๓ ขึ้น คือ ขั้นหนึ่ง  เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน      ขั้นสอง  เมื่อคนรู้ควา

รูปหนังตะลุง

รูปภาพ
  รูปหนังตะลุง                 รูปหนัง  เป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงหนังตะลุง หนังคณะหนึ่งๆ ใช้รูปหนังประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ตัว หนังตะลุงแกะโดยนายช่างผู้ชำนาญ ในจังหวัดหนึ่งๆ ของภาคใต้ มีเพียง ๒-๓ คนเท่านั้น ต้นแบบได้มาจากรูปหนังใหญ่ เพราะรูปเก่าแก่ที่เหลืออยู่เท้าเหยียบนาค มีอายุกว่า ๑๐๐ ปีไปแล้ว ต้นแบบสำคัญคือรูปเรื่องรามเกียรติ์ที่ฝาผนังรอบวัดพระแก้ว ผสมผสานกับรูปหนังของชวา ทำให้รูปกะทัดรัดขึ้นและมือหน้าเคลื่อนไหวได้ รูปหนังจะจัดเก็บไว้ใน แผงหนัง โดยวางเรียงอย่างเป็นระเบียบและตามศักดิ์ของรูป นั่นคือ เอารูปเบ็ดเตล็ดและรูปตลกที่ไม่สำคัญซึ่งเรียกรวมกันว่า รูปกาก ไว้ล่าง ถัดขึ้นมาเป็นรูปยักษ์ พระ นาง เจ้าเมือง ตัวตลกสำคัญ รูปปรายหน้าบท พระอิศวร และฤาษี ตามลำดับ  กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะ ช่างภาคใต้ที่ไปพบเห็นก็ถ่ายทอดมาเป็นแบบ ช่างราม เป็นช่างแกะรูปหนังที่เก่าแก่คนหนึ่งของจังหวัดพัทลุง นอกจากแกะให้หนังภายในจังหวัดแล้ว ยังแกะให้หนังต่างจังหวัดด้วย รูปของช่างรามได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศ แม้ถึงแก่กรรมไปประมาณ ๖๐ ปีแล้ว ชื่อเสียงของท่านทางศิลปะยังมีผู้คนกล่าวขานถึงอยู่ท่านเลียนแบบรูปภาพ เรื่

ขั้นตอนในการแสดงหนังตะลุง

รูปภาพ
ขั้นตอนในการแสดงหนังตะลุง หนังตะลุงทุกคณะมีลำดับขั้นตอนในการแสดงเหมือนกันจนถือเป็นธรรมเนียมนิยม ดังนี้     ๑.ตั้งเครื่อง     ๒.แตกแผง หรือแก้แผง     ๓.เบิกโรง     ๔.ลงโรง     ๕.ออกลิงหัวค่ำ  เป็นธรรมเนียมของหนังในอดีต ลิงดำเป็นสัญลักษณ์ของอธรรม ลงขาวเป็นสัญลักษณ์ของธรรมะ เกิดสู้รบกัน ฝ่ายธรรมะก็มีชัยชนะแก่ฝ่ายอธรรม ออกลิงหัวค่ำยกเลิกไปไม่น้อยกว่า ๗๐ ปีแล้ว ช่วงชีวิตของผู้เขียนไม่เคยเห็นลิงดำลิงขาวที่สู้รบกันเลย เพียงได้รับการบอกเล่าจากผู้สูงอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป     ๖.ออกฤาษี หรือ ชักฤาษี     ฤาษี เป็นรูปครู มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องปัดเสนียดจัญไร และ ภยันตรายทั้งปวง ทั้งช่วยดลบันดาลให้หนังแสดงได้ดี เป็นที่ชื่นชมของคนดู รูปฤาษีรูปแรกออกครั้งเดียว นอกจากประกอบพิธีตัดเหมรยเท่านั้น      ๗.ออกรูปพระอิศวร หรือรูปโค     รูปพระอิศวรของหนังตะลุง ถือเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเทพเจ้าแห่งความบันเทิง ทรงโคอุสุภราชหรือนนทิ หนังเรียกรูปพระอิศวรว่ารูปพระโคหรือรูปโค หนังคณะใดสามารถเลือกหนังวัวที่มีเท้าทั้ง 4 สีขาว โหนกสีขาว หน้าผากรูปใบโพธิ์สีขาว ขนหางสีขาว วัวประเภทนี้หายากมาก ถือเป็นมิ่งมงคล ต

ตัวตลกหนังตะลุง

รูปภาพ
ตัวตลกหนังตะลุง ตัวตลก  หรือ  รูปกาก  มีความสำคัญในการแสดงหนังตะลุงมาก สามารถตรึงคนดูได้มีความผูกพันกับชีวิตของชาวบ้านมากกว่าตัวละครอื่นๆ หนังคณะหนึ่งๆ มีตัวตลกไม่น้อยกว่า 10 ตัวขึ้นไป พูดภาษาถิ่นใต้ การแต่งกายมักเปลือยท่อนบน หน้าตาจะผิดเพี้ยนจากคนจริงไปบ้าง แต่ละตัวมีเสียงพูดหรือสำเนียงโดยเฉพาะ ตัวตลกเอก นิยมนำหนังตีนของอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ มาทำเป็นริมฝีปากล่าง เพื่อให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ปิดทองทั้งตัว ขนาดเชือกชักปากทำด้วยทองแบบสร้อยคอก็มี ตัวตลกมีเป็นจำนวนมาก เฉพาะตัวที่สำคัญมีดังนี้ เท่ง 1.อ้ายเท่ง  เอาเค้ามาจากชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อเท่ง อยู่บ้านคูขุด อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา หนังจวนบ้านคูขุดนำมาตัดรูปตลกเป็นครั้งแรก หนังคณะอื่นๆ นำไปเลียนแบบ รูปร่างผอมบางสูง ท่อนบนยาวกว่าท่อนล่าง ผิวดำ ปากกว้าง หัวเถิก ผมงอหยิก ใบหน้าคล้ายนกกระฮัง นิ้วมือขวายาวโตคล้ายอวัยวะเพศผู้ชาย นิ้งชี้กับหัวแม่มือซ้ายงอหยิกเป็นวงเข้าหากัน นุ่งผ้าโสร่งลายตาหมากรุก คาดพุงด้วยผ้าขะม้า ไม่สวมเสื้อ ที่สะเอวเหน็บมีดอ้ายครก (มีดปลายแหลมด้านงอโค้งมีฝัก) ชอบพูดจาโผงผาง ไม่เกรงใจใคร ขู่สำทับผู้อื่น ล้อเลียนเ

การแข่งขันประชันโรง

 การแข่งขันประชันโรง               การประชันโรงของหนังตะลุง เป็นที่ชื่นชอบของชาวปักษ์ใต้มาเป็นเวลานานปี นับแต่สมัย ร.๕ จนถึงปัจจุบัน การประชันโรงมีตั้งแต่ ๒ โรงขึ้นไป ถึง ๑๐ โรง เลือกเฟ้นเอาหนังที่มีชื่อเสียงระดับเดียวกัน ถ้าเปรียบกับภาษามวยเรียกว่าถูกคู่ ในงานเทศกาลสำคัญๆ มีการแข่งขันประชันโรงแพ้คัดออก มีประชันติดต่อกันหลายคืน เอารองชนะเลิศมาแข่งขันกันในคืนสุดท้าย นอกจากเงินราดแล้วมีการตั้งรางวัลเกียรติยศ เช่น ฤาษีทองคำ หรือขันน้ำพานรอง หรือถ้วยของบุคคลสำคัญ งานประชันหนังตะลุงที่สนามหน้าเมือง สนามหน้าอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่สนามกีฬา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และที่หน้าศาลากลางจังหวัดพัทลุง มีหนังตั้งแต่ ๑๐ คณะ ถึง ๒๕ คณะ ผู้ชนะเลิศย่อมได้รับการยกย่อง มีงานแสดงมากขึ้น ค่าราดโรงเพิ่มขึ้น     เมื่อผู้เขียนอยู่ในวัยเยาว์จนเข้าวัยหนุ่ม หนังตะลุงประชันกันในวัด เพราะเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีเพียง ๒ โรง เคร่งครัดต่อกติกา ทำเป็นหนังสือสัญญา ๓ ฉบับ นายหนังหรือเจ้างานผิดสัญญาปรับไหมกันได้ ถือกติกาธรรมเนียมดังนี้     ๑.นายหนังทั้ง ๒ โรง ต้องมาถึงสถานที่แข่งขันก่อนค่ำอย่างน้อย ๑ ชั่วโมง     ๒

การสืบทอดการแสดงและพิธีกรรม

  การสืบทอดการแสดงและพิธีกรรม           ๑.ในสมัยโบราณผู้ใดจะแสดงหนังตะลุงก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์กับคณะหนังตะลุงที่ตัวเองชอบในแนวทางการแสดง พร้อมกับนำดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ไปมอบให้เพื่อเป็นการบูชา ฝ่ายครูก็มีการทดสอบโดยให้ร้องบทให้ฟังก่อน เพราะคนที่จะแสดงหนังตะลุงได้นั้นต้องมีการสนใจมาก่อน และจะต้องจำบทหนังตะลุงได้บ้างถึงไม่มากก็น้อย อันดับแรกครูจะฟังน้ำเสียง และเชาว์ปัญญา ถ้าไม่มีเชาว์ น้ำเสียงไม่ดี ก็ไม่รับเป็นศิษย์ ไม่เพียงหนังตะลุงศิลปินพื้นบ้านทุกประเภทในสมัยโบราณ ถ้าน้ำเสียงไม่ดีไม่สามารถยึดเป็นอาชีพได้ เพราะไม่มีเทคโนโลยีช่วยเหมือนสมัยนี้ ต้องใช้เสียงตัวเอง โดยเฉพาะหนังตะลุงแสดงตั้งแต่หัวค่ำจนสว่างใช้เวลาในการแสดงไม่ต่ำกว่าแปดชั่วโมง นับว่าเป็นงานที่หนักมากพอดู ๒.การครอบมือ เมื่ออาจารย์รับผู้สมัครไว้เป็นศิษย์ ถ้าบ้านลูกศิษย์อยู่ไกล เช่น ต่างอำเภอหรือต่างจังหวัด อาจารย์ก็จะรับไว้ให้อยู่ที่บ้าน อยู่กินกับอาจารย์ สอนวิชาให้ อาจารย์ไปแสดงสที่ไหนก็จะพาไปด้วย สอนให้ออกฤาษี และปรายหน้าบทก่อนเพื่อต้องการให้ชินกับคนดูมากๆ การฝึกแสดงหนังตะลุงไม่ใช่ฝึกกันได้ง่ายๆ ต้องใช้เวลามาก อย่างน้อยต้อ

รำท่าสิบสอง (ท่าครู)

รูปภาพ
รำท่าสิบสอง (ท่าครู) คำกลอนสำหรับรำท่าสิบสอง (นายหีด บุญหนูกลับ ผู้แต่ง) ท่าที่หนึ่งประนมมือขึ้นตรงหน้า ไหว้พ่อแม่ที่มาอย่าเย้ยสรวล ท่าที่สองจีบไว้ข้างอย่างกระบวน ที่สามเลื่อนเปลี่ยนมือขวาซัดท่ารำ ท่าท่าสี่จีบไว้ข้างวางเพียงเอว เปลี่ยนมือเร็วท่าที่ห้าดูน่าขำ ท่าที่หกจีบไว้หลังตั้งประจำ เปลี่ยนมือรำท่าที่เจ็ดขึ้นให้เด็ดดี ท่าที่แปดจีบไว้ข้างวางเพียงบ่า เปลี่ยนมือขวาซัดไว้ให้เข้าที่ สี่สิบจีบขึ้นเหมอ (เสมอ) หน้าให้ท่าพอดี สิบเอ็ดมีเปลี่ยนมือรำทำตามครู ท่าสิบสองเขาควายซัดให้เป็นวง จุดประสงค์เครื่องหมายไว้เพียงหู รำท่าสิบสองให้พี่น้องดู ได้ทำตามครูสอนแต่ก่อนกาล แล้วรำท่าแม่ลายขยายท่า ตามโนราแบบศิลป์ในถิ่นฐาน ได้รำตามครูสอนแต่ก่อนกาล แบบโบราณศิลป์ใช้ปักษ์ใต้ไทย ท่าที่หนึ่ง ท่าที่สอง ท่าที่สาม ท่าที่สี่ ท่าที่ห้า ท่าที่หก ท่าที่เจ็ด ท่าที่แปด ท่าที่เก้า ท่าที่สิบ ท่าที่สิบเอ็ด ท่าที่สิบสอง

รำท่าครูสอน

รูปภาพ
  รำท่าครูสอน อ๋อ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ - นั่งคุกเข่ารำ     ครูเอ๋ยครูสอน       เสดื้องกรต่อง่า ครูสอนให้โผกผ้า        สอนข้าให้ทรงกำม์ไล สอนครอบเทรดน้อย     แล้วจับสร้อยพวงมาลัย สอนทรงกำม์ไล          สอดใส่ซ้ายใส่ขวา เสดื้องเยื้องข้างซ้าย     ตีค่าได้ห้าพารา เสดื้องเยื้องข้างขวา     ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง ตีนถีบพนัก               ส่วนมือชักเอาแสงทอง หาไหนให้ได้เสมือนน้อง  ทำนองพระเทวดา อ๋อ ๆ ๆ ๆ ๆ .... ดนตรีรับ     ครูเอยครูสอน เสดื้องกรต่อง่า ครูสอนให้ผูกผ้า สอนข้าให้ทรางกำไล ครูสอนให้ครอบเทริดน้อย แล้วจับสร้อยพวงมาลัย สอนทรงกำไล สอดใส่ซ้ายขวา เสดื้องย่างข้างซ้าย ตีค่าให้ห้าพารา เสดื้องเยื้องข้างขวา ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง หาไหนให้ได้เสมือนน้อง ทำนองพระเทวดา

รำท่าสอนรำ

รูปภาพ
รำท่าสอนรำ สอนเอ๋ยสอนรำ      ครูให้ข้ารำเทียมบ่า ปลดปลงลงมา       ครูข้าให้รำเทียมพก วาดไว้ฝ่ายอก       ให้ยกเป็นแพนๆผาหลา ยกขึ้นเสมอหน้า      เรียกช่อระย้าพวงดอกไม้ ปลดปลงลงมาใต้    ครูให้ข้ารำโคมเวียน สนกรูปวาด          วาดไว้ให้เหมือนรูปเขียน ฉันนี้เสวยนุช         พระพุทธเจ้าห้ามมาร ฉันนี้นงคราญ        พระรามจะข้ามสมุทร สอนเอ๋ยสอนรำ ครูสอนให้ข้ารำเทียมบ่า ยกสูงขึ้นเสมอหน้า เป็นช่อระย้าดอกไม้ สอนข้ารำเทียมบ่า ให้ยกเป็นแพนผาหลา (ผาลา) ครูข้าให้รำโคมเวียน พระรามจะข้ามสมุทร วาดไว้ให้เหมือนรูปเขียน พระพุทธเจ้าห้ามมาร