ละครพูด
ละครพูด
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสำเร็จการศึกษาจากยุโรป เสด็จกลับมาประทับ ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้ทรงนำเอาแบบการแสดงละครของยุโรป มาแปลงให้เป็นการแสดงของไทยอย่างหนึ่ง ละครแบบนี้เรียกว่า ละครพูด
ละครพูด เป็นละครที่แสดงบนเวที เปลี่ยนฉากเป็นสถานที่ตามเนื้อเรื่อง
การแต่งตัว แต่งตามสภาพเป็นจริงของเรื่อง
การดำเนินเรื่อง ดำเนินด้วยคำพูด และการปฏิบัติของตัวละคร
การพูด ใช้คำพูอย่างธรรมดาสามัญชน แต่อาจเน้นในอารมณ์บางอย่างให้เด่นขึ้น เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจชัดเจน
กิริยาท่าทาง ใช้กิริยาท่าทางอย่างสามัญชน
เรื่องที่แสดง เป็นเรื่องชีวิตของธรรมดาสามัญชนอย่างนวนิยาย เช่น พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เรื่องหัวใจนักรบ ชิงนาง เห็นแก่ลูก เป็นต้น
ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงเวลาปิดฉากเท่านั้น
ละครพูดสลับลำ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๖ แห่งพระราชวงศ์จักตรี พระองค์ก็ยังทางโปรดการแสดงละครพูดอยู่ เมื่อทรงว่างพระราชกิจ ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่องต่างๆ และยังทรงวิวัฒนาการละครพูดให้เปลี่ยนแปรออกไปอีก พระบาทเสด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้น ให้ร้องแทรกในการแสดงละครพูดบางตอน โดยไม่ตัดบทพูดใดๆ ในละครของเดิมออกเลย ในครั้งแรกทรงเรียกว่า "ละครพูดแกมลำ" ภายหลังจึงเรียกว่า "ละครพูดสลับลำ" ใจความของบทร้องไม่มีความสำคัญในการดำเนินเรื่องเลย หากตัดบทร้องออก ก็คงเป็นละครพูดอย่างสมบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดจำนวนมาก
การแสดงละครพูดสลับลำทุกอย่าง สถานที่คำพูด ท่าทาง และการแต่งตัว ตลอดจนลักษณะของเรื่องที่แสดง เหมือนละครพูดทั้งสิ้น
เว้นแต่บางตอน ตัวละครจะต้องร้องเพลงไทยแทรกเข้ามา และแล้วก็แสดงเป็นละครพูดไปตามเดิม เช่น การแสดงละครพูดสลับลำเรื่องปล่อยแก่ ของนายบัว วิเศษกุล บทร้องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖
ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงนำและคลอเวลาร้อง กับเวลาปิดฉาก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น