บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ลิเก

ลิเก

  ลิเก มีลักษณะเด่นคือ เครื่องแต่งกายของพระเอกประดับเพชรจำนวนมาก มีขนนกสีขาวขนาดใหญ่ประดับศีรษะ สวมถุงน่องสีขาว และมีเพลง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของลิเกคือ เพลงราชนิเกลิง (ราด-นิ-เกลิง) ที่ใช้ร้องดำเนินเรื่องตลอดเวลา นอกจากนี้ เมื่อผู้ชมพอใจการแสดง ก็ลุกจากที่นั่งมาที่หน้าเวที เพื่อมอบรางวัลเป็นธนบัตร หรือพวงมาลัยติดธนบัตรแก่ตัวลิเก ซึ่งมักเป็นพระเอก ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มักชอบดูพระเอกที่หน้าตาดี รูปร่างอ้อนแอ้น ร้องเพลงได้ไพเราะ ด้นกลอนเก่ง รำสวย เครื่องแต่งกายงดงาม ส่วนฉาก ที่ชอบดูคือ ฉากตลก "ลิเก" เป็นละครผสมระหว่างการพูด การร้อง การรำ และการแสดงกิริยาท่าทางตามธรรมชาติ โดยมีวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบ ทำนองเพลงหลักที่ใช้สำหรับร้องดำเนินเรื่อง เรียกว่า รานิเกลิง (รา-นิ-เกลิง) หรือ ราชนิเกลิง (ราด-นิ-เกลิง) ส่วนอื่นๆ ที่ใช้สำหรับร้องรำ และประกอบกิริยา นำมาจากเพลงของละครรำ และเพลงลูกทุ่ง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น ผู้แสดงรับบทชายจริงหญิงแท้ มีบทพูด และบทร้องตามท้องเรื่อง ที่โต้โผกำหนดให้ก่อนการแสดง บางครั้งมีการบรรยายเรื่อง และตัวละครจากหลังเวที เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจง่ายขึ้น เ

ลิเก

  ลิเก ที่มาของลิเก  ลิเก เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษา ฮิบรู ว่า ซาคูร (Zakhur) ซึ่งหมายถึง การสวดสรรเสริญพระเจ้าในศาสนายูดาย หรือยิว มาแต่โบราณหลายพันปี ต่อมาชาวอาหรับเรียกการสวดสรรเสริญพระเจ้าว่า ซิกร (Zikr) และ ซิกิร (Zikir) ผู้สวดนั่งล้อมเป็นวงโยกตัวไปมา เมื่อการสวดแพร่หลายเข้าไปในอินเดียโดยชาวอิหร่าน เรียกว่า ดฮิกิร (Dhikir) โดยมีการตีกลองรำมะนาประกอบ ครั้นการสวดแพร่มาถึงจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย ก็เรียกเป็นภาษาถิ่นว่า ดิเก (Dikay) และจิเก (Jikay) ชาวมุสลิมนำดิเกเข้ามาสู่กรุงเทพมหานคร ตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ การเรียกก็เปลี่ยนเป็น ยิเก หรือ ยี่เก (Yikay) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงเรียกว่า ลิเก (Likay) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ และใช้เรียกอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นมา ส่วนคำว่า ยี่เก ยังคงใช้เรียกกันอยู่ อนึ่ง ลิเกได้ถูกเปลี่ยนชื่อตามพระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมทางศิลปกรรม พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็น นาฏดนตรี และเรียกคำนี้แทนลิเกอยู่ประมาณ ๑๕ ปี ก็กลับมาเรียกว่า ลิเก เหมือนเดิมจนถึงปัจจุบัน ลิเก มาจาก จิเก คือ การสวดสรรเสริญพระเจ้าของชาวไทยมุสลิม ผสมผสานกับละครรำของไทย จนเกิดเป็นล

ลิเก

  ลิเก      บทนำ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 คำว่า ลิเก ในภาษามลายู แปลว่า ขับร้อง เดิมเป็นการสวดบูชาพระในศาสนาอิสลาม สวดเพลงแขกเข้ากับจังหวะรำมะนา  พวกแขกเจ้าเซ็นได้สวดถวายตัวเป็นครั้งแรกในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อ พ.ศ. 2423  ต่อมาคิดสวดแผลงเป็นลำนำต่างๆ คิดลูกหมดเข้าแกมสวด ร้องเป็นเพลงต่างภาษา และทำตัวหนังเชิด โดยเอารำมะนาเป็นจอก็มี ลิเกจึงกลายเป็นการเล่นขึ้น  ต่อมามีผู้คิดเล่นลิเกอย่างละคร คือ เริ่มร้องเพลงแขก แล้วต่อไปเล่นอย่างละครรำ และใช้ปี่พาทย์อย่างละคร      ลิเกมี 3 แบบ คือ  1. ลิเกบันตน  เริ่มด้วยร้องเพลงบันตนเป็นภาษามลายู ต่อมาก็แทรกคำไทยเข้าไปบ้าง ดนตรีก็ใช้รำมะนา จากนั้นก็แสดงเป็นชุดๆ ต่างภาษา เช่น แขก ลาว มอญ พม่า ต้องเเริ่มด้วยชุดแขกเสมอ  ผู้แสดงแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ ร้องเอง พวกตีรำมะนาเป็นลูกคู่ มีการร้องเพลงบันตนแทรกระหว่างการแสดงแต่ละชุด 2. ลิเกลูกบท  คือ การแสดงผสมกับการขับร้องและบรรเลงเพลงลูกบท ร้องและรำไปตามกระบวนเพลง ใช้ปี่พาทย์ประกอบแทนรำมะนา แต่งกายตามที่นิยมในสมัยนั้นๆ แต่สีฉูดฉาด ผู้แสดงเป็นชายล้วน เมื่อแสดงหมดแต่ละชุด ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลง 3 ชั้นที่เป็นแม่บทขึ้นอ