บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทย

ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทย

  ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทย อาจถือได้ว่า หุ่นกระบอกไทยมีกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติความเป็นมาของการเล่นแสดงหุ่นกระบอก เพื่อเป็นเครื่องมหรสพ มีปรากฏอย่างชัดเจน ในลายพระหัตถ์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงโต้ตอบกันในหนังสือสาส์นสมเด็จ ดังจะนำมากล่าวเป็นตอนๆ ดังนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงริเริ่มตั้งข้อสังเกต ถึงเรื่องหุ่นกระบอกขึ้นก่อน ในลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๙ กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เกี่ยวกับคนขอทานตาบอด นั่งร้องเพลง และสีซออยู่ข้างถนน และเลยไปถึงเรื่องหุ่นกระบอก มีความว่า "มีเรื่องเกล้ากระหม่อมบวช ซึ่งติดจะขัน จะเก็บมาเล่าถวายอีกเรื่องหนึ่ง คือ เมื่อเกล้ากระหม่อมบวชนั้นได้ตั้งใจรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นพระ พ้นอาบัติทั้งปวง ความปฏิบัติเป็นไปได้สมปรารถนา แต่มาวันหนึ่ง เจ้ากรรมจริงๆ เดินกลับจากบิณฑบาต พอถึงแถวหน้าศาลเจ้าพ่อเสือก็พบคนขอทานตาบอด นั่งร้องเองสีซอเองอยู่ข้างถนน ตามที่ควรเป็นแล้ว ดนตรีของคนขอท

ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทย

  ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทย เริ่มต้นขึ้นเมื่อครั้งเด็กชายเล็กๆ คนหนึ่ง ได้มีโอกาสติดตามบิดา ผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ไปราชการยังหัวเมืองฝ่ายเหนือ ครั้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ เด็กชายผู้นี้ได้มีโอกาสชมการเชิดหุ่นกระบอก จึงเกิดความสนใจและอยากได้หุ่นกระบอกอย่างมาก เนื่องจาก หุ่นกระบอกมีขนาดไล่เลี่ยกับตุ๊กตา มีลักษณะสวยงามน่ารัก และสามารถเชิดให้แสดงกิริยาอาการต่างๆ ได้ หุ่นกระบอกจึงเป็นสิ่งที่ดูแล้วเพลินตาเพลินใจ เป็นที่ถูกใจเด็กชายอย่างยิ่ง ในที่สุดเด็กชายคนนี้ก็ได้หุ่นกระบอกมาตัวหนึ่ง และได้นำกลับมายังกรุงเทพฯ ด้วย เจ้าของหุ่นกระบอก คนเดิม เป็นชายยากจนชื่อ เหน่ง เป็นชาวจังหวัดสุโขทัย อาศัยอยู่ตามวัด นายเหน่งเห็นหุ่นจีนไหหลำ จึงเอาแบบอย่างมาคิดดัดแปลงประดิษฐฺ์เป็นหุ่นไทยขึ้น และคิดกระบวนร้องเพลงประกอบตามแบบอย่างของหุ่นจีนไหหลำ นายเหน่งนำหุ่นกระบอกออกเชิดแสดง เพื่อหาเลี้ยงชีพ ต่อมามีคนชอบมากขึ้น หุ่นกระบอกของนายเหน่งจึงเป็นที่รู้จักกัน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ในเวลานั้น นายเหน่งได้มอบหุ่นตัวหนึ่งให้แก่เด็กชายผู้ที่ได้มาเยือน ในระหว่างเดินทางกลับจากหัวเมืองเหนือมายังกรุงเทพฯ เด็กชายผู้เป