บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ นาฏศิลป์ภาคกลาง

นาฏศิลป์ภาคกลาง

  นาฏศิลป์ภาคกลาง                             ประเภทและลักษณะของนาฏศิลป์ภาคกลาง                                                                 รำโทน รำโทน เป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งของชาวบ้านเมืองลพบุรีนิยมเล่นกันแพร่หลายในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๘   เหตุที่เรียกชื่อว่ารำโทน เพราะเดิมเป็นการรำประกอบจังหวะการตี  "โทน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักในการเล่น ภายหลังแม้ใช้เครื่องดนตรีอื่น เช่น รำมะนา ตีให้จังหวะแทนก็ยังเรียกชื่อเช่นเดิม   ผู้ที่นิยมเล่นรำโทน คือหนุ่มสาวชาวบ้าน กล่าวกันว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผู้คนต้องอพยพหนีภัยทางอากาศจากกรุงเทพฯ ไปยังชนบทตามที่ต่างๆ กัน ในภาวะสงครามนั้นยามค่ำคืนจะมืดไปทุกหนทุกแห่ง เนื่องจากทางรัฐบาลห้ามกระทำการต่างๆ หลายอย่าง เช่น ห้ามจุดไฟ ห้ามชุมนุมและอื่นๆ ประชาชนเกิดความเหงาและเครียด การสนทนากันเพียงอย่างเดียวไม่สนุก จึงได้คิดเล่นรำโทนขึ้น การละเล่นชนิดนี้ชาวบ้านรู้จักและเล่นได้ทุกคน ขณะที่เล่นจะจุดตะเกียงตั้งไว้ตรงกลาง ผู้เล่นจะยืนล้อมวง  จุดประสงค์ของการเล่นคือ  เพื่อความสนุกสนาน  และเพื่อพบปะเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว  เพลงรำโทน ที่น