ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์
ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ ชาวภูไทดำในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง อำเภอคำม่วง และอำเภอสมเด็จ การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนประกอบทำนองหมอลำภูไท ซึ่งเป็นทำนองพื้นเมืองประจำชาชาติพันธุ์ภูไท ซึ่งปกติแล้วการแสดงหมอลำภูไท มักจะมีการฟ้อนรำประกอบกันไปอยู่แล้ว ซึ่งทำให้การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ในแต่ละอำเภอหรือหมู่บ้าน จะมีท่าฟ้อนที่แตกต่างกัน การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนที่ได้การปรับปรุงท่ามาจากท่าฟ้อนภูไท ท่าฟ้อนในเซิ้งบั้งไฟ และท่าฟ้อนดอนตาล ประกอบด้วยท่าฟ้อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว ฯลฯ ซึ่งผู้ฟ้อนจะเป็นผู้หญิงทั้งหมด ท่าฟ้อนของชาวภูไทได้ถูกรวบรวมโดย นายมณฑา ดุลณี ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนภูไทให้เป็นระเบียบ 4 ท่าหลัก ส่วนท่าอื่นๆนั้น คณะครูหมวดนาฏศิลป์พื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์โดยได้นำเอาการฟ้อนของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอคำม่วง รวบรวมเอาไว้ด้วยกั