บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ฟ้อนอุ่นไอดิน

ฟ้อนอุ่นไอดิน

  ฟ้อนอุ่นไอดิน ฟ้อนอุ่นไอดิน เมื่อพูดถึง “ไอดิน”  ภาพพจน์ที่ติดอยู่ในความทรงจำ คือ พอฝนตกโรยรดดินอันแห้งระอุ ดินคายไอน้ำออกมา ไอน้ำนั้น คือไอดิน ซึ่งมีกลิ่นหอม “ไอดินถิ่นอีสาน” ก็คือ กลิ่นหอมกรุ่นแห่งไอดินแดนอีสานบ้านเฮา ซึ่งหมายความถึง วิถีชีวิตของชาวอีสาน ยังหอมอบอวนอยู่ในใจพวกเราทุกคน นอกจากนั้น แดนอีสาน ยังมีศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นเฉพาะตน ซึ่งมีคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์และเผยแพร่ เป็นวัฒนธรรมที่อลังการ เป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2550 เนื่องในโอกาสที่ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสานจุฬาฯ ครบรอบ 30 ปี ทางชมรมฯ ได้คิดการแสดง “อุ่นไอดิน” ขึ้น โดยคุณกิตติศักดิ์ แก้งทอง เป็นผู้ออกแบบท่ารำและเครื่องแต่งกาย มังกรเดียวดาย แต่งคำร้องและทำนองเพลงประกอบ และแสดงครั้งแรกในงาน “ไอดินถิ่นอีสาน อลังการวัฒนธรรม 30ปีอีสานจุฬาฯ” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2550 ฟ้อนอุ่นไอดิน ใช้ผู้หญิงล้วน โดยจำนวนช่างฟ้อนเป็นคู่ ซึ่งในงาน30ปีอีสานจุฬาฯ ใช้ช่างฟ้อน 12 คน ฟ้อนอุ่นไอดิน เครื่องแต่งกายช่างฟ้อนอุ่นไอดิน  นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ เสื้อแขนกระบอกสีดำ ขลิบสาบเสื้อลายขิดสีแดง ห่มสไบแพรวาสีแดง เกล้าผม รัดเกล้าด้วยฝ้า