ละครใน
ละครใน เป็นละครที่แสดงในวัง ได้นำวิธีการเล่นเดินเรื่องอย่างละครนอก มาให้เหล่าระบำในพระราชฐานแสดง โดยนำบทที่เคยแสดงโขนคือเรื่องรามเกียรตื์ และอุณรุท มาแสดงโดยนางในราชสำนัก จึงเรียกว่าละครนางใน หรือละครข้างใน ต่อมาเรียกสั้นๆ ว่า ละครใน เรื่องที่แสดง แสดงเฉพาะ ๓ เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา การแต่งกาย เครื่องแต่งกายประณีตงดงาม ตามแบบของกษัตริย์ เช่น มีมงกุฎ สังวาล ทับทรวง เจียระบาด ห้อยหน้า สนับเพลา พระภูษา ฉลองพระองค์ ฯลฯ ผู้แสดง เดิมเป็นหญิงล้วน ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๑ มี ละครในผู้ชายแสดง เช่น นายทองอยู่เป็นอิเหนา การแสดง ท่ารำ ต้องประณีตงดงามตามแบบราชสำนัก ละครในมุ่งดูศิลปะการร่ายรำมากกว่าเนื้อเรื่อง ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก ใช้ทางในซึ่งมีระดับเสียงเหมาะกับผู้หญิง และมักเป็นเพลงที่มีลีลา ท่วงทำนองค่อนข้างช้า วิจิตรพิสดาร เหมาะกับลีลาท่ารำ เพลงร้อง ปรับปรุงให้มีทำนองและจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียงและลูกคู่ มักมีคำว่า "ใน" อยู่ท้ายเพลง เช่น ช้าปี่ใน โอ้โลมใน สถานที่แสดง เดิมแสดงในพระราชฐานเท่า