นาฏศิลป์ภาคอีสาน
นาฏศิลป์ภาคอีสาน ประเภทและลักษณะของนาฏศิลป์ภาคอีสาน ฟ้อนภูไทหรือผู้ไท พระธาตุเชิงชุม เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดสกลนคร ซึ่งในสมัยโบราณนั้นต้องมีคนคอยเฝ้าดูแลรักษาทำความสะอาดอยู่ตลอดทั้งปี ซึ่งพวกที่ดูแลทำนุบำรุงพระธาตุเชิงชุมนี้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรัชฎาชูปการซึ่งมีหลายชนเผ่าด้วยกัน ซึ่งในกลุ่มผู้ดูแลนั้นมีชาวไทอยู่ร่วมด้วย ในตอนนั้นมักจะมีงานบุญทอดผ้าป่า และฉลององค์พระธาตุเชิงชุมชาวบ้านจะนำข้าวเม่า ปลาย่างมาติดกัณฑ์เทศน์ ชาวผู้ไทซึ่งเป็นกลุ่มที่อาสาเป็นผู้ปฏิบัติรักษาองค์พระธาตุโดยเฉพาะผู้ชายจะแต่งตัวนุ่งกางเกงขาก๊วย และนุ่งโสร่งทับ สวมเสื้อดำ จะฟ้อนด้วยลีลาอันอ่อนช้อยสวยงาม โดยร้องและฟ้อนกันเป็นหมู่ๆ แล้วจึงถวายผ้าป่า ต่อมาได้มีการดัดแปลงท่าฟ้อนให้สวยงามยิ่งขึ้น เปลี่ยนจากผู้แสดงชายมาเป็นหญิงล้วน การแต่งกาย ผู้แสดงหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นสีดำขลิบแดง นุ่งยาวกรอมเท้า สวมเสื้อสีดำขลิบแดง หรือแดงขลิบดำก็ได้ แต่ขลิบคอแขนและชายเสื้อ สวมเล็บมือแปดเล็บติดพู่สีแดง ผมเกล้ามวยผูกผมด้วยผ้าสีแดง วงดนตรีประกอบ ใช้ดนตรีพื้