นาฏยศัพท์ ว่าด้วย "วง"
นาฏยศัพท์ ว่าด้วย "วง" ๑. นามศัพท์ วง คือ ส่วนโค้งของลำแขน นิ้วทั้งสี่ชิดติดกัน หัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย เรียกว่า การตั้งวง เหยียดแขนออกไปข้างลำตัว ฝ่ามือตั้งขึ้น งอศอกเล็กน้อยให้คล้ายงาช้าง (ไม่งอมากหรือเหยียดมากเกินไป) แบ่งออกเป็น ๑. วงบน ตัวพระและตัวนางจะแตกต่างกัน ตัวพระวงบนจะอยู่ระดับแง่ศีรษะ (ขมับ) ส่วนโค้งของลำแขนจะกว้าง ส่วนวงบนตัวนางจะอยู่ระดับหางคิ้ว ส่วนโค้งของ ลำแขนจะแคบกว่าตัวพระ แล้วหักข้อมือเข้าหาลำแขน ๒. วงกลางเป็นการตั้งวงโดยยกส่วนโค้งของลำแขนขึ้น ให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่ ตัวพระแขนจะผายออกทางด้านข้าง ตัวนางลำแขนจะหุบเข้ามาทางด้านหน้าเล็กน้อย ลำ ๓. วงล่างเป็นการตั้งวงโดยทอดส่วนโค้งของลำแขนไปด้านล่าง ปลายนิ้วมืออยู่ระดับหน้าท้องหรือระดับสะเอว ตัวพระกันศอกให้เป็นช่องว่างระหว่างลำแขนกับลำตัว ตัวนาง ไม่ต้องกันศอก ปลายนิ้วอยู่ระดับหัวเข็มขัด ๔. วงหน้าเป็นการตั้งวงโดยทอดส่วนโค้งของลำแขนไปด้านล่าง ปลายนิ้วมืออยู่ระดับหน้าท้องหรือระดับสะเอว ตัวพระกันศอกให้เป็นช่องว่างระหว่างลำแขนกับลำ