บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ เซิ้งสวิง

เซิ้งสวิง

 เซิ้งสวิง             เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อ ส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น   ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ   โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก  ในปี  พ.ศ. 2515 ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย   กรมศิลปากร    จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นนั้นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรีที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง จึงนับว่าเป็นศิลปะพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่งดงาม แปลกตาออกไปอีกลักษณะหนึ่ง การแต่งกาย     ผู้ชาย          สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและสะเอว มือถือตะข้อง     ผู้หญิง         นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะของผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอปลายแขน และขลิบ    ผ่าอกตลอดแนวด้วยฝ้าสีติดกัน   เช่น   สีเขียวขลิบแดงหรือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า   ห่มสไบเฉียงทับ   ตัวเสื้อสวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไ