บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ โนราแขก

โนราแขก

    โนราแขก  เป็นชื่อไทยที่ใช้เรียกการแสดงโนราที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นที่มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ชาวไทยพุทธและคนไทยมุสลิมอยู่ใกล้ชิดกัน เป็นพิธีกรรมโรงครูตามแบบแผนที่สร้างขึ้นเฉพาะถิ่นของตนในตอนใต้สุดของไทยในจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี เดิมเรียกว่าโนราควน ต่อมาได้เปลี่ยนคำเรียกจาก "โนราควน "มาเป็น "โนราแขก”เป็นการแสดงผสมผสานระหว่างโนรากับมะโย่ง        โนราแขกเป็นการแสดงที่ปรับเปลี่ยนมาจากการแสดงโนราของชาวไทยพุทธและการแสดงมะโย่งของชาวไทยมุสสลิม มีการร้องและการแสดงเป็นเรื่อง ผู้แสดงสำคัญคือ พ่อโนรา นางรำ และพราน ซึ่งจะนำเอกลักษณ์ของโนราและมะโย่ง ในเรื่องของการร่ายรำ การแต่งกาย การขับร้อง และดนตรีมาใช้แสดงร่วมกัน คือพ่อโนราแต่งกายแบบโนรา ขับร้องและเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามาลายูถิ่น ส่วนนางรำชาวไทยมุสสลิม แต่งกายแบบพื้นเมือง ขับร้องและเจรจาเป็นภาษามาลายูถิ่น ร่ายรำแบบโนราและมะโย่ง พรานขับร้องเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามาลายูถิ่น ผู้ชมทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสสลิมจะดูโนราแขกร่วมกันด้วยความสนุกสนานและเข้าใจในศิลปะการแสดง ซึ่งโนราแขกนั้นยังมีบทบาทในสังคมภาคใต้ อาทิ เป็นเค