การสืบทอดการแสดงและพิธีกรรม
การสืบทอดการแสดงและพิธีกรรม ๑.ในสมัยโบราณผู้ใดจะแสดงหนังตะลุงก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์กับคณะหนังตะลุงที่ตัวเองชอบในแนวทางการแสดง พร้อมกับนำดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ไปมอบให้เพื่อเป็นการบูชา ฝ่ายครูก็มีการทดสอบโดยให้ร้องบทให้ฟังก่อน เพราะคนที่จะแสดงหนังตะลุงได้นั้นต้องมีการสนใจมาก่อน และจะต้องจำบทหนังตะลุงได้บ้างถึงไม่มากก็น้อย อันดับแรกครูจะฟังน้ำเสียง และเชาว์ปัญญา ถ้าไม่มีเชาว์ น้ำเสียงไม่ดี ก็ไม่รับเป็นศิษย์ ไม่เพียงหนังตะลุงศิลปินพื้นบ้านทุกประเภทในสมัยโบราณ ถ้าน้ำเสียงไม่ดีไม่สามารถยึดเป็นอาชีพได้ เพราะไม่มีเทคโนโลยีช่วยเหมือนสมัยนี้ ต้องใช้เสียงตัวเอง โดยเฉพาะหนังตะลุงแสดงตั้งแต่หัวค่ำจนสว่างใช้เวลาในการแสดงไม่ต่ำกว่าแปดชั่วโมง นับว่าเป็นงานที่หนักมากพอดู ๒.การครอบมือ เมื่ออาจารย์รับผู้สมัครไว้เป็นศิษย์ ถ้าบ้านลูกศิษย์อยู่ไกล เช่น ต่างอำเภอหรือต่างจังหวัด อาจารย์ก็จะรับไว้ให้อยู่ที่บ้าน อยู่กินกับอาจารย์ สอนวิชาให้ อาจารย์ไปแสดงสที่ไหนก็จะพาไปด้วย สอนให้ออกฤาษี และปรายหน้าบทก่อนเพื่อต้องการให้ชินกับคนดูมากๆ การฝึกแสดงหนังตะลุงไม่ใช่ฝึกกันได้ง่ายๆ ต้องใช้เวลามาก อย่างน้อยต้อ