การฟ้อนโซ่ทั่งบั้ง
การฟ้อนโซ่ทั่งบั้ง โซ่ทั่งบั้ง ถึงแม้จะกำเนิดมาจากพิธีกรรมงานศพ ที่เรียกว่า ซางกะมูด และในพิธีเจียดอง คือ ทำบุญให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิงซึ่งง่าย ชายสัญญาไว้ก่อนจะทำบุญให้ โซ่ทั่งบั้งในฐานะการฟ้อนรำ การแสดงโซ่ทั่งั้งตามแบบโบราณ ได้รับการจำลองแบบให้เป็นการฟ้อนโดยประยุกต์ท่ารำจากท่ารำมาตรฐาน กรมศิลปกรรมสมกับจำลองท่าฟ้อนตามความเชื่อเรื่องผี วิญญาณผีฟ้าผีแถน เพื่อแสดงเป็น ครั้งแรกในงานเทศกาลสงกรานต์จังหวัดสกลนคร พ.ศ.2521 โดยท่าฟ้อน 7 ท่า ดังนี้ ท่าเชิญผีฟ้า ท่าส่งผีฟ้า ท่าทั่งลั้ง ท่าถวายดอกไม้และท่าเกี่ยวแขนรำในด้านการแต่งกายสตรีนักฟ้อนที่นิยมแต่งแบบชาวโซ่โบราณจะเกล้าผมทรงสูงทรงมวย มีฝ้ายสีขาวมัดมวยผมสวมเสื้อผ้าฝ่ายแขนยาวสามส่วนสีดำ หรือย้อมครามติดกระดุมเงิน นุ่งซิ่นมัดหมี่ต่อหัวต่อเชิ่งห่มสไปด้วยผ้าเก็บดอกหรือผ้าขิด ไม่สวมรองเท้าส่วนเครื่องประดับนิยมใช้เครื่องประดับที่ทำด้วยเงินเช่น ต่างหู หร้อยคอ กำไรข้อมือ กำไลข้อเท้า ในปัจจุบัน ว่าจะมีการฟ้อนแสดงความเชื่อในพิธีทั่งบั้ง แต่ชาวโซ่ที่กุสุมาลย์ก็ยังนิยมแสดงโซ่ทั่งบั้งในพิธีเยาคนป่วยไข้ไปพร้อม ๆ กันด้วย ชาวโซ่เชื่อว่าซิญญาณที่ทำให้