ฟ้อนเทียน
ฟ้อนเทียน ประวัติความเป็นมา ฟ้อน เทียน นับเป็นระบำแบบเย็นๆ แบบหนึ่งตามลักษณะของการฟ้อนของไทยภาคเหนือ ผู้ฟ้อนถือเทียนจุดไฟมือละเล่มทั้ง 2 มือ ตามปกติใช้ฟ้อนในที่กลางแจ้งในเวลาตอนกลางคืน ยิ่งมีนักฟ้อนมากยิ่งดี ถ้าเป็นตอนกลางวันมักจะเป็นการฟ้อนเล็บ เข้าใจว่าฟ้อนเทียนนี้แต่คงจะเดิมเป็นการฟ้อนสักการบูชาแด่สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับ Temple dance แต่ก่อนมาแสดงประกอบพิธีเฉพาะในงานสำคัญในพระราชฐาน เช่นในคุ้มหลวง ผู้ฟ้อนโดยมากล้วนเป็นเจ้านายเชื้อพระราชวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้นในสมัยโบราณจึง มีศิลปะที่ไม่สู้จะได้ชมบ่อยนัก ความงามของการฟ้อนอยู่ที่ชมแสงเทียนที่ถือแสงวับๆ แวมๆ จากดวงเทียนที่ถือในมือ การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญที่เราได้ยินเลื่องลือกัน เป็นครั้งหลังก็เมื่อคราวพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดหญิงชาวเหนือให้ฟ้อนถวายรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสมณฑล ฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ. 2496 และครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรได้ฝึกจำมา แต่บทร้องใช้ประกอบการรำนั้นมีทั้งบทพระราชนิพนธ์ของเจ้าดารารัศมี และบทที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยอาศัยเค้าของเก่า ลักษณะการแสดง ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วนถือเทียนจุดเทียนม