การแต่งกายโขน
การแต่งกายโขน แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายมนุษย์เทวดา(พระ นาง) ฝ่ายยักษ์ ฝ่ายลิง (เชิญคลิกดูภาพ) ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น บทพากย์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่งแต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง ๑๖ หรือกาพย์ยานี ๑๑ บทมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้ ๑ พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ์หรือพระรามประทับในปราสาทหรือพลับพลา เช่น ครั้นรุ่งแสงสุริยโอภา พุ่งพ้นเวหา คิรียอดยุคันธร สมเด็จพระหริวงศ์ทรงศร ฤทธิ์เลื่องลือขจร สะท้อนทั้งไตรโลกา เสด็จออกนั่งหน้าพลับพลา พร้อมด้วยเสนา ศิโรตมก้มกราบกราน พิเภกสุครีพหนุมาน นอบน้อมทูลสาร สดับคดีโดยถวิล ๒ พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย เช่น เสด็จทรงรถเพชรเพชรพราย พรายแสงแสงฉาย จำรูญจำรัสรัศมี อำไพไพโรจน์รูจี สีหราชราชสีห์ ชักรชรถรถทรง ดุมหันหันเวียนวง กึกก้องก้องดง เสท