ละครสังคีต
ละครสังคีต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงละครขึ้นอีกแบบหนึ่ง มีทั้งร้องเพลงและพูด ทั้งบทร้อง และบทพูด มีความสำคัญในการดำเนินเรื่องด้วยกัน จะตัดอย่างหนึ่งอย่างใดออกไม่ได้ เนื้อเรื่องจะขาดตอนไป ละครแบบนี้ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต" วิธีแสดง ฉาก กิริยาท่าทาง การพูดและร้อง เหมือนกับละครพูดสลับลำ แต่ในการร้องอาจต้องใส่อารมณ์มากกว่าละครพูดสลับลำ และเพลงดนตรีอาจมีเพลงหน้าพาทย์ เช่น พญาเดิน รัวแทรกด้วย ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงนำและคลอเวลาร้อง กับบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ (ถ้ามี) และเวลาปิดฉาก เรื่องที่แสดง เช่น พระราชนิพนธ์เรื่อง มิกาโด วั่งตี่ วิวาหพระสมุทร และหนามยอกเอาหนามบ่ง ละครแบบที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมา และปรับปรุงเหล่านี้ สมัยก่อนผู้แสดงเป็นผู้ชายทั้งสิ้น ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นชายจริง หญิงแท้ จะเห็นได้ว่า คำว่า "นาฎศิลป์" ซึ่งแต่เดิมหมายถึง การแสดงต่างๆ ที่ประกอบด้วยการรำ ไม่ว่าจะเป็นระบำ หรือละคร แบบใดนั้น ได้มีความหมายแผ่กว้างออกไปอีก เมื่อวัฒนธรรมตะวันตกได้แพร่เข้ามาในเมืองไทย อันทำให้เกิดมีละครที่ใช้กิริยาท่าทางอย่