ฟ้อนเงี้้ยว
ฟ้อนเงี้้ยว ฟ้อนเงี้ยว เป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่งซึ่งเรียกว่า “เงี้ยว” มีภูมิลำเนาในชานสเตตส์ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของไทย นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ กรมศิลปากรได้มีโอกาสสอนละครที่คุ้มหลวง เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่ และได้เห็นการรำฟ้อนเงี้ยว เรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “เงี้ยวปนเมือง” ของคุ้มเจ้าหลวง ซึ่งมีนางบุญหลง บุญจูหลง เป็นผู้ฝึกสอน ในความควบคุมของพระราชายาดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 โดยทรงมอบหมายให้ครูหลง บุญชูหลง ร่วมกับครูฟ้อนในคุ้มคิดท่ารำ โดยมีครูรอด อักษรทับ เป็นผู้คิดคำร้องเข้ากับทำนองซอเงี้ยวท่ารำของฟ้อนเงี้ยวส่วนหนึ่งเป็นการฟ้อนที่เข้ากับบทร้อง หรือคำร้องที่เรียกว่า “รำตีบท” ซึ่งเพลงร้องตอนแรกเริ่ม จะทอดเสียงยาวว่า “เขี้ยวลายสารโถ่ (ถั่ว) ต้มเน้อ พี่บ่หย่อน เมียงนาง น้องโลม ยาลำต้มโตยสู พี่เมา แหล่” จากนั้นจะเป็นคำร้อง ทำนองซอเงี้ยวว่า “อะโหลโลโล ไปเมืองโก โตยพี่เงี้ยว หนทางคดเลี้ยว ข้าน้อง จะเหลียวถาม หนทางเส้นนี้ เปนถนน ก็เมืองพาน เฮยพ่อเฮย ผ้าสีปูเลย พาดเกิ่งตุ๊มเกิ่ง เสเลเมา บ่าเดี่ยว เปิ๊กเซิก็ ข้ามน้ำเลิก็ ก็บ่ได้ขอด สา