การแข่งขันประชันโรง
การแข่งขันประชันโรง การประชันโรงของหนังตะลุง เป็นที่ชื่นชอบของชาวปักษ์ใต้มาเป็นเวลานานปี นับแต่สมัย ร.๕ จนถึงปัจจุบัน การประชันโรงมีตั้งแต่ ๒ โรงขึ้นไป ถึง ๑๐ โรง เลือกเฟ้นเอาหนังที่มีชื่อเสียงระดับเดียวกัน ถ้าเปรียบกับภาษามวยเรียกว่าถูกคู่ ในงานเทศกาลสำคัญๆ มีการแข่งขันประชันโรงแพ้คัดออก มีประชันติดต่อกันหลายคืน เอารองชนะเลิศมาแข่งขันกันในคืนสุดท้าย นอกจากเงินราดแล้วมีการตั้งรางวัลเกียรติยศ เช่น ฤาษีทองคำ หรือขันน้ำพานรอง หรือถ้วยของบุคคลสำคัญ งานประชันหนังตะลุงที่สนามหน้าเมือง สนามหน้าอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่สนามกีฬา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และที่หน้าศาลากลางจังหวัดพัทลุง มีหนังตั้งแต่ ๑๐ คณะ ถึง ๒๕ คณะ ผู้ชนะเลิศย่อมได้รับการยกย่อง มีงานแสดงมากขึ้น ค่าราดโรงเพิ่มขึ้น เมื่อผู้เขียนอยู่ในวัยเยาว์จนเข้าวัยหนุ่ม หนังตะลุงประชันกันในวัด เพราะเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีเพียง ๒ โรง เคร่งครัดต่อกติกา ทำเป็นหนังสือสัญญา ๓ ฉบับ นายหนังหรือเจ้างานผิดสัญญาปรับไหมกันได้ ถือกติกาธรรมเนียมดังนี้ ๑.นายหนังทั้ง ๒ โรง ต้องมาถึงสถานที่แข่งขันก่อนค่ำอย่างน้อย ๑ ชั่วโมง ๒