ร่ายระบำฟ้อนกิงกะหร่า
ร่ายระบำฟ้อนกิงกะหร่า ฟ้อนกิงกะหร่า เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของชาวไทใหญ่ โดยมีความเชื่อมาจากพุทธศาสนา กิงกะหร่า ในความหมายตามสารพจนานุกรม คือ ชื่อของ กินนร หรือ กินรี ใช้พูดในภาษาไทใหญ่ หมายถึงสัตว์หิมพานต์ ที่มีท่อนล่างเป็นนก ท่อนบนเป็นคน ได้รับอิทธิพลการฟ้อนมาจากประเทศพม่าโดยมีชื่อว่า ฟ้อนนกเก็งไนยา ประวัติความเป็นมาของการฟ้อนกิงกะหร่านั้น มีเรื่องเล่าว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากจำพรรษาเพื่อโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ขณะเสด็จลงสู่โลกมนุษย์นั้น พุทธศาสนิกชนได้พร้อมใจกันนำอาหารไปทำบุญตักบาตร หรือที่รู้จักกันดีว่า "การตักบาตรเทโวโรหนะ" และเหล่าสัตว์ต่าง ๆ จากป่าหิมพานต์ คือ กินนรและกินนรี พากันออกมาฟ้อนร่ายรำเพื่อถวายการเคารพบูชา ในการแสดงฟ้อนกิงกะหร่า จะแสดงท่าทางอากัปกิริยาเลียนแบบนกกินรี ผู้แสดงมีได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใส่ชุดที่ประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ ลำตัว ปีก หาง ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย แต่ละส่วนขึ้นโครงก่อนแล้วจึงติดผ้าแพร ประดับเพิ่มด้วยกระดาษสีต่าง ๆ ตัดเป็นลวดลายให้ตัวนกงดงามมากขึ้น จากนั้นใช้เชือกปอหรือหนังยางรัดให้แน่น อีกทั้งทำเชือกโยงดึงไปทั้งปีกและหา