บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว

การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว

  การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว ประวัติความเป็นมาของการเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว      การแสดงเต้นกำรำเคียว  เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เก่าแก่แบบหนึ่งของชาวชนบทในภาคกลางของไทย แถบจังหวัดนครสวรรค์  ที่อำเภอพยุหะคีรี  ซึ่งแต่เดิมประชาชนส่วนมากยึดอาชีพการทำนาเป็นหลักและด้วยนิสัยรักสนุก ประกอบกับการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของไทยด้วย  จึงได้เกิดการเต้นกำรำเคียวขึ้น  ซึ่งในเนื้อเพลงแต่ละตอนจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างชัดเจน  ลักษณะการรำไม่อ่อนช้อยเช่นการรำไทยทั่ว ๆ ไป  จะถือเอาความสนุกเป็นใหญ่  จะมีทั้ง “เต้น”  และ  “รำ”  ควบคู่กันไป  ส่วนมือทั้งสองของผู้รำข้างหนึ่งจะถือเคียว  อีกข้างหนึ่งถือต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว จึงได้ชื่อว่า  “ เต้นกำรำเคียว” ลักษณะการแสดง     จะแบ่งผู้เล่นเป็น  2 ฝ่ายคือ  ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง  สำหรับฝ่ายชายเรียกว่า  “พ่อเพลง” ฝ่ายหญิงจะเรียกว่า  “แม่เพลง”  เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียวโดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อฝ่ายหญิง  และแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป  ซึ่งพ่อเพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลายๆ คน  ช่วยกันร้องจนกว่าจะจบเพลง  ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่ก็ต