นาฏศิลป์พื้นเมือง

 นาฏศิลป์พื้นเมือง

นาฏศิลป์พื้นเมือง

            ลักษณะของคนไทยที่มีความสนุกสนานรื่นเริง ไม่ว่าจะเหน็ดเหนื่อยจากการประกอบอาชีพก็สามารถหาความบันเทิง     เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้านั้นได้      และการที่คนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนมีความสามารถตอบโต้ด้วยคารมคมคาย   จึงทำให้เกิดการละเล่นพื้นเมืองขึ้น เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เป็นต้น   ในสังคมไทยตั้งแต่เกิดถึงตายก็เกี่ยวข้องกับดนตรีและนาฏศิลป์   นับได้ว่า ดนตรีและนาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยในทุกๆภาคของประเทศไทย  นาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นการแสดงที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย

ประเภทของนาฏศิลป์พื้นเมือง  แบ่งออกเป็น  ๔ ประเภท ได้แก่

๑.   นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ

๒.   นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง

๓.  นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน

๔.  นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้

  นาฏศิลป์ภาคเหนือ




 

 ฟ้อนเทียน

 

                         นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ


                                     ฟ้อนเทียน

         ฟ้อนเทียน   เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม  ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ  ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน  นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม   เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์     เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย   ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่  แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง           

         ผู้แสดง หญิงล้วน ใช้รำเป็นคู่  จะเป็น คู่ ๑ คู่ ๒ คู่ ๓ คู่ ๔ คู่  หรือมากกว่านี้ก็ได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานที่          

            เครื่องดนตรี    ได้แก่  กลองแอว  ปี่  แน  ฉาบใหญ่  ฆ้องวงใหญ่  และตะหลดปด

         การแต่งกาย          ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน    แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น   และความจำกัดของสถานที่  โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์  คือ  ถือเทียน ๑ เล่ม   การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้  ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ  คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม  และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก  แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม  แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย  มีอุบะห้อยศีรษะ

         โอกาสที่แสดง   ในงานพระราชพิธี   หรือวันสำคัญทางศาสนา  ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ   และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา    

 

                                   ฟ้อนเงี้ยว

  ที่มาของภาพ  :  หนังสือวิพิธทัศนา,  สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ (๒๕๔๒, ๔๖)


                                  ฟ้อนเงี้ยว

ฟ้อนเงี้ยว  เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่  ประกอบด้วย  ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่  แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทยใหญ่  การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงาม   จึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน   หรือใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆ  มีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ  ฟ้อนเทียน การแต่งกาย  

จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง   โดยใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก  นุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่า  หรือกางเกงขากว้างๆ   หรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า  สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู

โอกาสที่ใช้แสดง      แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป

 

                               กลองสะบัดชัย

      ที่มาของภาพ :  หนังสือวิพิธทัศนา, สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ (๒๕๔๒, ๖๘)


                     กลองสะบัดชัย

เป็นกลองพื้นเมืองเหนือที่มีประเพณีนิยมการสร้างกลองประจำเมือง  เรียกว่า “กลองอุ่นเมือง” เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง  ต่อมานิยมสร้างไว้ประจำวัด  เรียกว่า  กลองบูชา กลองสะบัดชัย  คงจะเป็นกลองที่ดัดแปลงมาภายหลัง   

เพื่อให้เคลื่อนย้ายได้สะดวกจึงมีขนาดเล็กลง    และสามารถแบกหามไปในที่ที่ต้องการได้   การตีกลองสะบัดชัยผู้เล่นต้องออกลีลาท่าทางประกอบด้วย   จึงจะเกิดความสนุกสนานเร้าใจ  ปัจจุบันนิยมใช้ในงานแห่ขบวนต่างๆ

 

                                    ฟ้อนเล็บ

                    ที่มาของภาพ  :  อัษฎา  จรัญชล

 

                            ฟ้อนเล็บ

 

ฟ้อนเล็บ  เป็นการฟ้อนชนิดหนึ่งของชาวไทยในภาคเหนือ   ผู้ฟ้อนจะสวมเล็บยาว  ลีลาท่ารำของฟ้อนเล็บคล้ายกับฟ้อนเทียน  

ต่างกันที่ฟ้อนเทียนมือทั้งสองถือเทียน  ตามแบบฉบับของการฟ้อน นางลมุล   ยมะคุปต์     ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย    

ได้นำลีลาท่าฟ้อนอันเป็นแบบแผนมาจากคุ้มเจ้าหลวงมาฝึกสอน  จัดเป็นชุดการแสดงที่น่าชมอีกชุดหนึ่ง

            การแต่งกาย    นิยมใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วนๆ  นุ่งซิ่นมีเชิงที่ชายผ้า  สวมเสื้อแขนกระบอก    มีสไบเจียรบาดพาดไหล่ห่มทับเสื้อ  ผู้แสดงแต่งหน้าสดสวย  ยังมีการเกล้าผมมุ่นมวยแล้วใช้ดอกไม้ห้อยเป็นอุบะระย้าข้างศีรษะ

            ท่ารำ    มีการแบ่งท่ารำออกเป็น ๔ ชุด  คือ

ชุดที่  ๑ประกอบด้วยท่า จีบหลัง (ยูงฟ้อนหาง) บังพระสุริยา วันทา บัวบาน กังหันร่อน

ชุดที่  ๒ประกอบด้วยท่า  จีบหลัง  ตระเวนเวหา  รำกระบี่สี่ท่า  พระรถโยนสาร ผาลาเพียงไหล่   บัวชูฝัก  กังหันร่อน

 ชุดที่  ๓  ประกอบด้วยท่า จีบหลัง พรหมสี่หน้า  พิสมัยเรียงหมอน  กังหันร่อน

  ชุดที่  ๔ ประกอบด้วยท่า จีบหลัง  พรหมสี่หน้า  พิสมัยเรียงหมอนแปลง  ตากปีก

             โอกาสที่ใช้    ใช้แสดงในวันสำคัญ  เช่น ต้อนรับแขกเมืองต่างชาติ  หรือในงานประเพณี 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า

รำท่าครูสอน