ระบำศรีชัยสิงห์
ระบำศรีชัยสิงห์
ระบำศรีชัยสิงห์ เป็นระบำโบราณคดีที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก ซึ่งภาพจำหลักนี้ ได้ลอกเลียนแบบมาจากปราสาทเมืองสิงห์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดัดแปลงมาจากท่ารำของนางอัปสรบายน ในสมัยขอมบายน มาเป็นหมู่ระบำนางอัปสรฟ้อนรำถวายพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำศรีชัยสิงห์
๑. ระนาดเอก
๒. ระนาดทุ้ม
๓. ระนาดเอกเหล็ก
๔. ระนาดทุ้มเหล็ก
๕. ฆ้องวงใหญ่
๖. ฆ้องวงเล็ก
๗. ปี่นอก
๘. โทน
๙. ฉิ่ง
๑๐. ฉาบเล็ก
๑๑. กรับ
๑๒. โหม่ง
เครื่องแต่งกายตัวเอก
เสื้อ เป็นชุดรัดรูปสีน้ำตาลอ่อน คอกลม แขนสั้นเหนือศอก
ผ้านุ่ง เป็นกระโปรงสำเร็จรูปแบบป้าย ทบซ้อนหน้า สีเหลืองทอง ยาวคลุมเข่า มีลูกไม้แถบสีทองเดินลายและปักเลื่อมดอกสีทองประปราย ตัดเย็บด้วยผ้าผาดไทยชนิดมีลวดลายในตัว
เครื่องประดับ
ศีรษะของตัวเอก ประกอบด้วย
๑. กะบังหน้า ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับพลอย และกระจกสีต่างๆ
๒. ยี่ก่า
๓. เกี้ยว
๔. พู่หนัง
๕. สาแหรก
๖. ปลียอด
๗. ดอกไม้ไหว
๘. ลายท้าย
รัดต้นแขน ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี และกระจกสีต่างๆ
สร้อยคอ ๑ เส้น ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี และกระจกสีต่างๆ
กำไลมือ ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี และกระจกสีต่างๆ
กำไลเท้า ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี และกระจกสีต่างๆ
กรองคอ ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
สังวาล ๒ เส้น ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
เครื่องแต่งกายตัวรอง
เสื้อ เป็นชุดรัดรูปสีน้ำตาลเข้ม คอกลม แขนสั้นเหนือศอก
ผ้านุ่ง เป็นกระโปรงสำเร็จรูปแบบป้ายทบซ้อนหน้าสีน้ำตาลเข้ม ยาวคลุมเข่า มีลูกไม้แถบสีทอง เดินลายและปักเลื่อมดอกสีทองประปราย ด้านหน้าเดินลูกไม้แถบทึบเป็นลวดลายหางปลา ตัดเย็บด้วยผ้าพื้นไม่มีลวดลาย
กรองคอ ทำด้วยผ้าต่วนมันสีน้ำตาล ขลิบริมด้วยลูกไม้แถบสีทอง ปักเลื่อมดอกประปราย
เครื่องประดับ
มวยผมสูง ทำด้วยไหมพรมสีดำแทนผมจริง เดินเส้นลูกไม้แถบทองปักเลื่อมดอกสีทอง เลียนแบบลักษณะเกี้ยวครอบผม
สร้อยคอ ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี
ข้อมือ ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
ข้อเท้า ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
ต่างหู ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับพลอยหลากสี
ต้นแขน ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
สังวาล ๒ เส้น ทำด้วยโลหะ ชุบทอง ประดับพลอย
นาฏยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑. จีบมือ ได้รูปแบบมาจากลักษณะนิ้วของพระพุทธรูปขอมบายน เมื่อนำมาผสมผสานกับลีลาทางนาฏศิลป์ จะมีลักษณะดังนี้ คือ ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดเหนือข้อแรกของปลายนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือเหยียดตึง
๒. ถองสะเอว แขนขวางอศอก ให้ข้อศอกจรดเอว หักข้อมือ ตั้งวง กดไหล่ขวา ศีรษะเอียงขวา มือซ้ายตั้งวงสูงระดับแง่ศีรษะ ถ้าจะถองสะเอวข้างซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
๓. เดี่ยวเท้า เดี่ยวเท้าขวา ยืนด้วยเท้าซ้าย ยกฝ่าเท้าขวาขึ้นแนบกึ่งกลางด้านข้างขาพับซ้าย ถ้าจะเดี่ยวเท้าซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
๔. ตั้งวง ลักษณะการตั้งวงจะตั้งวงพิเศษ คือ ยกแขนตั้งวงสูงไม่ตกศอก ให้ปลายนิ้วจรดกลางศีรษะ
๕. โขยกเท้า แบ่งเป็นโขยกเคลื่อนตัวกับโขยกเท้าอยู่กับที่ เป็นอาการแบบก้าวเท้า วางจมูกเท้าเคลื่อนตัว เช่น ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ชักเท้าซ้ายตามไปวางด้วยจมูกเท้าใกล้ๆ และวางจมูกเท้านั้นแบ่งน้ำหนักมาด้วยเพื่อยันให้เท้าขวากระเถิบนิดหนึ่ง แล้วยกเท้าที่โขยก ก้าวไปข้างหน้า วางเต็มเท้า ให้เท้าขวากระเถิบอยู่ก่อน แล้วเป็นฝ่ายยันด้วยจมูกเท้าบ้าง เท้าที่ยันด้วยจมูกเท้านี้เรียกว่า เท้าโขยก
๖. โหย่งหรือกระหย่ง หมายถึง ลักษณะการจรดปลายเท้าไม่ให้ฝ่าเท้าถูกพื้น ซึ่งท่ารำชนิดนี้มีทั้งท่ายืนและท่านั่ง เช่น โขย่งส้นเท้าซ้าย ใช้เท้าขวายืนเต็มเท้า ย่อเข่ายกส้นเท้าซ้ายแตะกับข้อเท้าขวา
ระบำศรีชัยสิงห์ เป็นระบำโบราณคดีที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก ซึ่งภาพจำหลักนี้ ได้ลอกเลียนแบบมาจากปราสาทเมืองสิงห์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดัดแปลงมาจากท่ารำของนางอัปสรบายน ในสมัยขอมบายน มาเป็นหมู่ระบำนางอัปสรฟ้อนรำถวายพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำศรีชัยสิงห์
๑. ระนาดเอก
๒. ระนาดทุ้ม
๓. ระนาดเอกเหล็ก
๔. ระนาดทุ้มเหล็ก
๕. ฆ้องวงใหญ่
๖. ฆ้องวงเล็ก
๗. ปี่นอก
๘. โทน
๙. ฉิ่ง
๑๐. ฉาบเล็ก
๑๑. กรับ
๑๒. โหม่ง
เครื่องแต่งกายตัวเอก
เสื้อ เป็นชุดรัดรูปสีน้ำตาลอ่อน คอกลม แขนสั้นเหนือศอก
ผ้านุ่ง เป็นกระโปรงสำเร็จรูปแบบป้าย ทบซ้อนหน้า สีเหลืองทอง ยาวคลุมเข่า มีลูกไม้แถบสีทองเดินลายและปักเลื่อมดอกสีทองประปราย ตัดเย็บด้วยผ้าผาดไทยชนิดมีลวดลายในตัว
เครื่องประดับ
ศีรษะของตัวเอก ประกอบด้วย
๑. กะบังหน้า ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับพลอย และกระจกสีต่างๆ
๒. ยี่ก่า
๓. เกี้ยว
๔. พู่หนัง
๕. สาแหรก
๖. ปลียอด
๗. ดอกไม้ไหว
๘. ลายท้าย
รัดต้นแขน ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี และกระจกสีต่างๆ
สร้อยคอ ๑ เส้น ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี และกระจกสีต่างๆ
กำไลมือ ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี และกระจกสีต่างๆ
กำไลเท้า ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี และกระจกสีต่างๆ
กรองคอ ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
สังวาล ๒ เส้น ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
เครื่องแต่งกายตัวรอง
เสื้อ เป็นชุดรัดรูปสีน้ำตาลเข้ม คอกลม แขนสั้นเหนือศอก
ผ้านุ่ง เป็นกระโปรงสำเร็จรูปแบบป้ายทบซ้อนหน้าสีน้ำตาลเข้ม ยาวคลุมเข่า มีลูกไม้แถบสีทอง เดินลายและปักเลื่อมดอกสีทองประปราย ด้านหน้าเดินลูกไม้แถบทึบเป็นลวดลายหางปลา ตัดเย็บด้วยผ้าพื้นไม่มีลวดลาย
กรองคอ ทำด้วยผ้าต่วนมันสีน้ำตาล ขลิบริมด้วยลูกไม้แถบสีทอง ปักเลื่อมดอกประปราย
เครื่องประดับ
มวยผมสูง ทำด้วยไหมพรมสีดำแทนผมจริง เดินเส้นลูกไม้แถบทองปักเลื่อมดอกสีทอง เลียนแบบลักษณะเกี้ยวครอบผม
สร้อยคอ ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี
ข้อมือ ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
ข้อเท้า ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
ต่างหู ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับพลอยหลากสี
ต้นแขน ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี
สังวาล ๒ เส้น ทำด้วยโลหะ ชุบทอง ประดับพลอย
นาฏยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑. จีบมือ ได้รูปแบบมาจากลักษณะนิ้วของพระพุทธรูปขอมบายน เมื่อนำมาผสมผสานกับลีลาทางนาฏศิลป์ จะมีลักษณะดังนี้ คือ ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดเหนือข้อแรกของปลายนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือเหยียดตึง
๒. ถองสะเอว แขนขวางอศอก ให้ข้อศอกจรดเอว หักข้อมือ ตั้งวง กดไหล่ขวา ศีรษะเอียงขวา มือซ้ายตั้งวงสูงระดับแง่ศีรษะ ถ้าจะถองสะเอวข้างซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
๓. เดี่ยวเท้า เดี่ยวเท้าขวา ยืนด้วยเท้าซ้าย ยกฝ่าเท้าขวาขึ้นแนบกึ่งกลางด้านข้างขาพับซ้าย ถ้าจะเดี่ยวเท้าซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
๔. ตั้งวง ลักษณะการตั้งวงจะตั้งวงพิเศษ คือ ยกแขนตั้งวงสูงไม่ตกศอก ให้ปลายนิ้วจรดกลางศีรษะ
๕. โขยกเท้า แบ่งเป็นโขยกเคลื่อนตัวกับโขยกเท้าอยู่กับที่ เป็นอาการแบบก้าวเท้า วางจมูกเท้าเคลื่อนตัว เช่น ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ชักเท้าซ้ายตามไปวางด้วยจมูกเท้าใกล้ๆ และวางจมูกเท้านั้นแบ่งน้ำหนักมาด้วยเพื่อยันให้เท้าขวากระเถิบนิดหนึ่ง แล้วยกเท้าที่โขยก ก้าวไปข้างหน้า วางเต็มเท้า ให้เท้าขวากระเถิบอยู่ก่อน แล้วเป็นฝ่ายยันด้วยจมูกเท้าบ้าง เท้าที่ยันด้วยจมูกเท้านี้เรียกว่า เท้าโขยก
๖. โหย่งหรือกระหย่ง หมายถึง ลักษณะการจรดปลายเท้าไม่ให้ฝ่าเท้าถูกพื้น ซึ่งท่ารำชนิดนี้มีทั้งท่ายืนและท่านั่ง เช่น โขย่งส้นเท้าซ้าย ใช้เท้าขวายืนเต็มเท้า ย่อเข่ายกส้นเท้าซ้ายแตะกับข้อเท้าขวา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น