ละครสังคีต

 ละครสังคีต 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงละครขึ้นอีกแบบหนึ่ง มีทั้งร้องเพลงและพูด ทั้งบทร้อง และบทพูด มีความสำคัญในการดำเนินเรื่องด้วยกัน จะตัดอย่างหนึ่งอย่างใดออกไม่ได้ เนื้อเรื่องจะขาดตอนไป ละครแบบนี้ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต" 

วิธีแสดง ฉาก กิริยาท่าทาง การพูดและร้อง เหมือนกับละครพูดสลับลำ แต่ในการร้องอาจต้องใส่อารมณ์มากกว่าละครพูดสลับลำ และเพลงดนตรีอาจมีเพลงหน้าพาทย์ เช่น พญาเดิน รัวแทรกด้วย

ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงนำและคลอเวลาร้อง กับบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ (ถ้ามี) และเวลาปิดฉาก

เรื่องที่แสดง เช่น พระราชนิพนธ์เรื่อง มิกาโด วั่งตี่ วิวาหพระสมุทร และหนามยอกเอาหนามบ่ง 

ละครแบบที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมา และปรับปรุงเหล่านี้ สมัยก่อนผู้แสดงเป็นผู้ชายทั้งสิ้น ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นชายจริง หญิงแท้ 

จะเห็นได้ว่า คำว่า "นาฎศิลป์" ซึ่งแต่เดิมหมายถึง การแสดงต่างๆ ที่ประกอบด้วยการรำ ไม่ว่าจะเป็นระบำ หรือละคร แบบใดนั้น ได้มีความหมายแผ่กว้างออกไปอีก เมื่อวัฒนธรรมตะวันตกได้แพร่เข้ามาในเมืองไทย อันทำให้เกิดมีละครที่ใช้กิริยาท่าทางอย่างสามัญชน ซึ่งไม่มีการรำเลย ดังนั้น การแสดงละครร้อง ละครพูด ละครพูดสลับลำ และละครสังคีต ที่ไม่มีการรำ แต่เป็นละครอีกแบบหนึ่ง ก็ต้องถือว่า เป็นนาฎศิลป์ด้วย

ละครสังคีต

     คำว่า "สังคีต" หมายถึง การรวมเอาการฟ้อนรำและการละคร พร้อมทั้งดนตรีทางขับร้อง และดนตรีทางเครื่องด้วย  ละครสังคีตหมายถึง ละครที่มีทั้งบทพูดและบทร้องเป็นส่วนสำคัญเสมอ จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้      

     ละครสังคีตเป็นละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆ กัน

     ผู้แสดง   ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง 

     การแต่งกาย  

แต่งตามสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามเนื้อเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย

     เรื่องที่แสดง  

นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า "ละครสลับลำ" เรื่องวิวาหพระสมุทร ทรงเรียกว่า "ละครพูดสลับลำ" เรื่องมิกาโดและวั่งตี่ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต"

     การแสดง 

มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพูดเป็นเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้องและบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน

     ดนตรี     บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม 

     เพลงร้อง  ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น มีลำนำที่ไพเราะ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า

รำท่าครูสอน