โนราแขก
โนราแขก
เป็นชื่อไทยที่ใช้เรียกการแสดงโนราที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นที่มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ชาวไทยพุทธและคนไทยมุสลิมอยู่ใกล้ชิดกัน เป็นพิธีกรรมโรงครูตามแบบแผนที่สร้างขึ้นเฉพาะถิ่นของตนในตอนใต้สุดของไทยในจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี เดิมเรียกว่าโนราควน ต่อมาได้เปลี่ยนคำเรียกจาก "โนราควน "มาเป็น "โนราแขก”เป็นการแสดงผสมผสานระหว่างโนรากับมะโย่ง
โนราแขกเป็นการแสดงที่ปรับเปลี่ยนมาจากการแสดงโนราของชาวไทยพุทธและการแสดงมะโย่งของชาวไทยมุสสลิม มีการร้องและการแสดงเป็นเรื่อง ผู้แสดงสำคัญคือ พ่อโนรา นางรำ และพราน ซึ่งจะนำเอกลักษณ์ของโนราและมะโย่ง ในเรื่องของการร่ายรำ การแต่งกาย การขับร้อง และดนตรีมาใช้แสดงร่วมกัน คือพ่อโนราแต่งกายแบบโนรา ขับร้องและเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามาลายูถิ่น ส่วนนางรำชาวไทยมุสสลิม แต่งกายแบบพื้นเมือง ขับร้องและเจรจาเป็นภาษามาลายูถิ่น ร่ายรำแบบโนราและมะโย่ง พรานขับร้องเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามาลายูถิ่น ผู้ชมทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสสลิมจะดูโนราแขกร่วมกันด้วยความสนุกสนานและเข้าใจในศิลปะการแสดง ซึ่งโนราแขกนั้นยังมีบทบาทในสังคมภาคใต้ อาทิ เป็นเครื่องนันทนาการของชาวบ้าน เป็นสื่อในการติดต่อกับวิญญาณสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ เป็นสื่อมวลชนของชาวบ้านและเป็นสิ่งสืบสานสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นต้น
องค์ประกอบการแสดงโนราแขก มีดังนี้
๑.โรงโนรา คือ โรงแสดง เวทีแสดง หรือบริเวณที่จัดไว้สำหรับแสดงโนราแขก อาจเป็นสถานที่ที่เจ้าภาพผู้ติดต่อในราแขกไปแสดงเป็นผู้สร้างขึ้น หรือเป็นสถานที่ที่เจ้าภาพของคณะโนราแขกสร้างประจำไว้ที่บ้านสำหรับแสดงโนราแขกประจำทุกปี ซึ่งมีอยู่ ๒ รูปแบบ ได้แก่ โรงโนราสำหรับประกอบพิธีกรรม (โรงครู) และโรงโนราสำหรับความบันเทิง (โรงสนุก)
๒.คณะนักแสดง คือ ผู้ร่วมแสดงอยู่ในคณะโนราแขก ประกอบด้วย พ่อโนราหรือหัวหน้าคณะ ๑ คน นางรำไทยพุทธ (ผู้ใหญ่) ๓ คน นางรำไทยมุสสลิม (ผู้ใหญ่) ๒ คน พราน ๑- ๒ คน นักดนตรี ๑๒ คน นางรำไทยเด็ก ๒-๔ คน และ หมอประจำคณะ (ขอโล) ๑ คน
๓.วิธีการแสดง เริ่มด้วยดนตรีโหมโรงพ่อโนราว่าบทกาศครู จากนั้นก็เริ่มแต่งตัว ขณะแต่งตัว เมื่อนุ่งผ้านุ่งผ้าใส่ปีกเสร็จแล้วจะนั่งว่าบท เป็นบทร่างแตระไปพร้อมกับใส่เครื่องประดับอื่น ๆ เช่น กำไลต้นแขน ปลายแขน เล็บและเทริด เป็นต้น เมื่อแต่งตัวเสร็จพ่อโนราจะลุกขึ้นรำโดยมีนางโนรา ๑ คู่ รำตามหลัง การรำนี้ จะไม่รำเป็นท่าแบบโนราทั่วไป แต่จะรำเป็นเพลงมีการรำเคล้ารำบทกับนางรำ สลับการรำบท มีการ "ทำบท" แบบโนราทั่วไป เช่น บทผัดหน้า บทสีไต เป็นต้น โดยมีนางโนราทั้ง ๒ คน ร้องรับและโต้ตอบ ลักษณะของบทหรือเพลงที่ร้อง เมื่อพ่อโนรานั่งว่าบทนางโนราทั้งสองจะนั่งหมอบอยู่ด้านหน้า ถ้าพ่อโนราเรียกจะขานรับ เช่น ขานว่า "ยอละแบะเร" เป็นต้น การร้องโต้ตอบกันนั้นถ้าเป็นโนราที่เป็นคนไทยล้วนจะร้องโต้ตอบกันเป็นภาษาไทยบ้าง มลายูบ้าง เมื่อร้องทำบทหรือเพลงเสร็จจะเป็นการแสดงเรื่องต่อไป เรื่องที่นำมาแสดงเป็นจะเกี่ยวกับวรรณคดีไทยประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ เช่น วรวงศ์ พระสุธนมโนราห์ ไกรทอง สังข์ทอง เป็นต้น โนราแขกเดิมผู้เล่นเป็นชายล้วนแสดงเป็น "พ่อโนรา" (โนราใหญ่) และนางโนรา ต่อมาภายหลังพ่อโนราเป็นชายและนางโนราเป็นหญิง
๔.เครื่องดนตรี ที่ใช้ในการแสดง นำมาจากเครื่องดนตรีประกอบการแสดงโนราไทยและมะโย่ง ประกอบด้วย ทับ กลอง ฆ้อง โหม่ง ทน อย่างละ ๒ ลูก ปี่ซูนา ๑ เลา รือบับหรือซอสามสาย ๑ คัน ฉิ่ง ๑ คู่ และแตระ ๖-๗ คู่
๕.เครื่องแต่งกาย คล้ายกับโนราทั่วไป แต่การนุ่งผ้าจะไว้หางหงส์ยาวกว่า ได้แก่ เทริด กำไล กำไลต้นแขน กลางแขน ปลายแขน ,เล็บ, ปั้นเหน่ง, สนับเพลา, ผ้าห้อย,ผ้าห้อยหน้า,ผ้านุ่ง,หาง,ผ้าผูกคอ,ทับทรวง สร้อยตัวหรือสังวาล,ปีกนกแอ่น,ทับบ่าและตับตะโพก
๖.อุปกรณ์ประกอบการแสดง โนราแขกมีอุปกรณ์การแสดงที่สำคัญมีอยู่ ๓ อย่าง คือ มัดหวาย มีดครก และ พระขรรค์ ซึ่งอุปกรณ์ประกอบการแสดงดังกล่าว มีส่วนสำคัญและมีบทบาทต่อนักแสดงเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะทำให้การแสดงโนราแขก ไม่ได้รับความสนใจหรือไม่สามารถสื่อความหมายให้ประชาชนในชุมชนต่างๆเกิดความเข้าใจและมีความสนุกสนานในความบันเทิงที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นการแสดงโนราแขกต้องใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงด้วยทุกครั้ง
สำหรับการแสดงโนราแขกจะแสดงในสองโอกาสสำคัญ คือ แสดงในการประกอบพิธีกรรมและแสดงเพื่อความบันเทิงทั่วๆไป โดยการแสดงประกอบพิธีกรรม ได้แก่ การบนบาน การเข้าสุหนัด การสวดบ้าน การบูชาทุ่ง การทำพิธีครอบครู ซึ่งการแสดงดังกล่าวจะใช้เวลาระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม (เดือน ๖-๙) ของทุกปี นอกจากระยะเวลาดังกล่าวแล้วจะไม่นิยมประกอบพิธีกรรม และจะใช้เวลาแสดงแต่ละครั้งประมาณ ๑-๓ วัน และการแสดงเพื่อความบันเทิง ได้แก่ งานอุปสมบท งานขึ้นบ้านใหม่ งานประจำปี ของหมู่บ้าน จะใช้เวลาใดก็ได้ ตามความเหมาะสมของเจ้าภาพหรือผู้ติดต่อจะตกลง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ ๑ คืน
ปัจจุบันเนื่องด้วยเทคโนโลยีและสื่อต่างๆทั้งออฟไลน์และออนไลน์ มีให้เลือกเสพเพิ่มขึ้นทำให้การแสดงโนราแขกลดความนิยมลงเป็นอย่างมากเช่นเดียวกับโนราทั่วไปของภาคใต้ หากเปรียบเทียบเมื่อครั้งอดีตหลายคณะจึงต้องปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องด้วยไม่มีบุตรหลานสืบทอดการแสดงโนราแขกอย่างจริงจัง นอกจากนี้บุตรหลานหรือเครือญาติได้ออกจากพื้นที่ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น เนื่องด้วยความไม่สงบในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้การแสดงโนราแขกแถบจะสูญหายไป ปัจจุบันหากจะชมโนราแขกจริงๆ ต้องเฉพาะงานแก้บนและงานไหว้ครูโนราเท่านั้น
โนราแขกเป็นการแสดงที่ปรับเปลี่ยนมาจากการแสดงโนราของชาวไทยพุทธและการแสดงมะโย่งของชาวไทยมุสสลิม มีการร้องและการแสดงเป็นเรื่อง ผู้แสดงสำคัญคือ พ่อโนรา นางรำ และพราน ซึ่งจะนำเอกลักษณ์ของโนราและมะโย่ง ในเรื่องของการร่ายรำ การแต่งกาย การขับร้อง และดนตรีมาใช้แสดงร่วมกัน คือพ่อโนราแต่งกายแบบโนรา ขับร้องและเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามาลายูถิ่น ส่วนนางรำชาวไทยมุสสลิม แต่งกายแบบพื้นเมือง ขับร้องและเจรจาเป็นภาษามาลายูถิ่น ร่ายรำแบบโนราและมะโย่ง พรานขับร้องเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามาลายูถิ่น ผู้ชมทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสสลิมจะดูโนราแขกร่วมกันด้วยความสนุกสนานและเข้าใจในศิลปะการแสดง ซึ่งโนราแขกนั้นยังมีบทบาทในสังคมภาคใต้ อาทิ เป็นเครื่องนันทนาการของชาวบ้าน เป็นสื่อในการติดต่อกับวิญญาณสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ เป็นสื่อมวลชนของชาวบ้านและเป็นสิ่งสืบสานสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นต้น
องค์ประกอบการแสดงโนราแขก มีดังนี้
๑.โรงโนรา คือ โรงแสดง เวทีแสดง หรือบริเวณที่จัดไว้สำหรับแสดงโนราแขก อาจเป็นสถานที่ที่เจ้าภาพผู้ติดต่อในราแขกไปแสดงเป็นผู้สร้างขึ้น หรือเป็นสถานที่ที่เจ้าภาพของคณะโนราแขกสร้างประจำไว้ที่บ้านสำหรับแสดงโนราแขกประจำทุกปี ซึ่งมีอยู่ ๒ รูปแบบ ได้แก่ โรงโนราสำหรับประกอบพิธีกรรม (โรงครู) และโรงโนราสำหรับความบันเทิง (โรงสนุก)
๒.คณะนักแสดง คือ ผู้ร่วมแสดงอยู่ในคณะโนราแขก ประกอบด้วย พ่อโนราหรือหัวหน้าคณะ ๑ คน นางรำไทยพุทธ (ผู้ใหญ่) ๓ คน นางรำไทยมุสสลิม (ผู้ใหญ่) ๒ คน พราน ๑- ๒ คน นักดนตรี ๑๒ คน นางรำไทยเด็ก ๒-๔ คน และ หมอประจำคณะ (ขอโล) ๑ คน
๓.วิธีการแสดง เริ่มด้วยดนตรีโหมโรงพ่อโนราว่าบทกาศครู จากนั้นก็เริ่มแต่งตัว ขณะแต่งตัว เมื่อนุ่งผ้านุ่งผ้าใส่ปีกเสร็จแล้วจะนั่งว่าบท เป็นบทร่างแตระไปพร้อมกับใส่เครื่องประดับอื่น ๆ เช่น กำไลต้นแขน ปลายแขน เล็บและเทริด เป็นต้น เมื่อแต่งตัวเสร็จพ่อโนราจะลุกขึ้นรำโดยมีนางโนรา ๑ คู่ รำตามหลัง การรำนี้ จะไม่รำเป็นท่าแบบโนราทั่วไป แต่จะรำเป็นเพลงมีการรำเคล้ารำบทกับนางรำ สลับการรำบท มีการ "ทำบท" แบบโนราทั่วไป เช่น บทผัดหน้า บทสีไต เป็นต้น โดยมีนางโนราทั้ง ๒ คน ร้องรับและโต้ตอบ ลักษณะของบทหรือเพลงที่ร้อง เมื่อพ่อโนรานั่งว่าบทนางโนราทั้งสองจะนั่งหมอบอยู่ด้านหน้า ถ้าพ่อโนราเรียกจะขานรับ เช่น ขานว่า "ยอละแบะเร" เป็นต้น การร้องโต้ตอบกันนั้นถ้าเป็นโนราที่เป็นคนไทยล้วนจะร้องโต้ตอบกันเป็นภาษาไทยบ้าง มลายูบ้าง เมื่อร้องทำบทหรือเพลงเสร็จจะเป็นการแสดงเรื่องต่อไป เรื่องที่นำมาแสดงเป็นจะเกี่ยวกับวรรณคดีไทยประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ เช่น วรวงศ์ พระสุธนมโนราห์ ไกรทอง สังข์ทอง เป็นต้น โนราแขกเดิมผู้เล่นเป็นชายล้วนแสดงเป็น "พ่อโนรา" (โนราใหญ่) และนางโนรา ต่อมาภายหลังพ่อโนราเป็นชายและนางโนราเป็นหญิง
๔.เครื่องดนตรี ที่ใช้ในการแสดง นำมาจากเครื่องดนตรีประกอบการแสดงโนราไทยและมะโย่ง ประกอบด้วย ทับ กลอง ฆ้อง โหม่ง ทน อย่างละ ๒ ลูก ปี่ซูนา ๑ เลา รือบับหรือซอสามสาย ๑ คัน ฉิ่ง ๑ คู่ และแตระ ๖-๗ คู่
๕.เครื่องแต่งกาย คล้ายกับโนราทั่วไป แต่การนุ่งผ้าจะไว้หางหงส์ยาวกว่า ได้แก่ เทริด กำไล กำไลต้นแขน กลางแขน ปลายแขน ,เล็บ, ปั้นเหน่ง, สนับเพลา, ผ้าห้อย,ผ้าห้อยหน้า,ผ้านุ่ง,หาง,ผ้าผูกคอ,ทับทรวง สร้อยตัวหรือสังวาล,ปีกนกแอ่น,ทับบ่าและตับตะโพก
๖.อุปกรณ์ประกอบการแสดง โนราแขกมีอุปกรณ์การแสดงที่สำคัญมีอยู่ ๓ อย่าง คือ มัดหวาย มีดครก และ พระขรรค์ ซึ่งอุปกรณ์ประกอบการแสดงดังกล่าว มีส่วนสำคัญและมีบทบาทต่อนักแสดงเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะทำให้การแสดงโนราแขก ไม่ได้รับความสนใจหรือไม่สามารถสื่อความหมายให้ประชาชนในชุมชนต่างๆเกิดความเข้าใจและมีความสนุกสนานในความบันเทิงที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นการแสดงโนราแขกต้องใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงด้วยทุกครั้ง
สำหรับการแสดงโนราแขกจะแสดงในสองโอกาสสำคัญ คือ แสดงในการประกอบพิธีกรรมและแสดงเพื่อความบันเทิงทั่วๆไป โดยการแสดงประกอบพิธีกรรม ได้แก่ การบนบาน การเข้าสุหนัด การสวดบ้าน การบูชาทุ่ง การทำพิธีครอบครู ซึ่งการแสดงดังกล่าวจะใช้เวลาระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม (เดือน ๖-๙) ของทุกปี นอกจากระยะเวลาดังกล่าวแล้วจะไม่นิยมประกอบพิธีกรรม และจะใช้เวลาแสดงแต่ละครั้งประมาณ ๑-๓ วัน และการแสดงเพื่อความบันเทิง ได้แก่ งานอุปสมบท งานขึ้นบ้านใหม่ งานประจำปี ของหมู่บ้าน จะใช้เวลาใดก็ได้ ตามความเหมาะสมของเจ้าภาพหรือผู้ติดต่อจะตกลง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ ๑ คืน
ปัจจุบันเนื่องด้วยเทคโนโลยีและสื่อต่างๆทั้งออฟไลน์และออนไลน์ มีให้เลือกเสพเพิ่มขึ้นทำให้การแสดงโนราแขกลดความนิยมลงเป็นอย่างมากเช่นเดียวกับโนราทั่วไปของภาคใต้ หากเปรียบเทียบเมื่อครั้งอดีตหลายคณะจึงต้องปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องด้วยไม่มีบุตรหลานสืบทอดการแสดงโนราแขกอย่างจริงจัง นอกจากนี้บุตรหลานหรือเครือญาติได้ออกจากพื้นที่ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น เนื่องด้วยความไม่สงบในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้การแสดงโนราแขกแถบจะสูญหายไป ปัจจุบันหากจะชมโนราแขกจริงๆ ต้องเฉพาะงานแก้บนและงานไหว้ครูโนราเท่านั้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น