การฟ้อนผู้ไท
การฟ้อนผู้ไท
กำรฟ้อนผู้ไท เป็นศิลปะการแสดงที่ขึ้นชื่อของชาวผู้ไท ซึ่งจะควบคู่ไปกับการล าผู้ไท การฟ้อนผู้ไท อาจใช้หญิงล้วนหรือทั้งชายและหญิง ขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหาของท่าที่ฟ้อน และจ านวน ผู้ที่ฟ้อน ซึ่งอาจมีตั้งแต่สองคนขึ้นไป จนถึงจ านวนเป็นร้อยคน การแต่งกาย ฝ่ายหญิงประกอบด้วย เสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าสไบ ดอกไม้ ตุ้มหู สร้อยสังวาล และเข็มขัด เสื้อฝ่ายหญิง เป็นเสื้อแขนกระบอกยาว หรือแขนสามส่วน สีคราม หรือด า คอรัด หรือคอธรรมดา ตรงปลายแขนหรือปลายคอเสื้อ อาจท าเป็นแถบสีหรือแถบผ้าขิดที่สวยงาม ผู้ที่ใส่ผ้าซิ่นที่แยกกับเสื้อ จ าเป็นต้องใส่เข็มขัด เช่น เข็มขัดนาค หรือเข็มขัด เงิน ผ้าสไบจ าเป็นส าหรับฝ่ายหญิง อาจเป็นผ้าขิด หรือผ้าถัก ใช้พาดไหล่ซ้าย หรือพันเฉียงไหล่ซ้ายหรือคล้องคอ นอกจากนี้ยังนิยมใช้ดอกไม้สดแซมผม มีตุ้มหู และสร้อยสังวาลย์ การแต่งกายของฝ่ายชาย นิยมใส่เสื้อม่อฮ่อมสีคราม หรือสีด าแขนสั้น กางเกงขาก๊วยสีเดียวกับเสื้อ มีผ้า ขาวม้าคาดเอว มีสร้อยสังวาลย์เช่นเดียวกับฝ่ายหญิง เครื่องดนตรี ที่ส าคัญได้แก่ แคน และกลองหาง นอกจากนี้อาจมีพิณ กระจับปี่ ซอ ปี่ หมากกลิ้งกล่อม (โปงลาง) กลองตุ้ม ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และพังฮาด (ผ่าง) เป็นต้น เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ ไม่มีก าหนดแน่นอน แต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงแคนลายผู้ไทน้อย การบรรเลงจะมีการ ขับร้องหรือไม่มีก็ได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น