ฟ้อนหางนกยูง รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ เมษายน 15, 2567 ฟ้อนหางนกยูง เป็นการฟ้อนที่ใช้หางนกยูงเป็นอุปกรณ์ประกอบ เป็นการฟ้อนเพื่อแสดงเอกลักษณ์ของชาวล้านนา มีหางนกยูงเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ ความคิดเห็น
การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว เมษายน 15, 2567 การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว ประวัติความเป็นมาของการเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว การแสดงเต้นกำรำเคียว เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เก่าแก่แบบหนึ่งของชาวชนบทในภาคกลางของไทย แถบจังหวัดนครสวรรค์ ที่อำเภอพยุหะคีรี ซึ่งแต่เดิมประชาชนส่วนมากยึดอาชีพการทำนาเป็นหลักและด้วยนิสัยรักสนุก ประกอบกับการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของไทยด้วย จึงได้เกิดการเต้นกำรำเคียวขึ้น ซึ่งในเนื้อเพลงแต่ละตอนจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างชัดเจน ลักษณะการรำไม่อ่อนช้อยเช่นการรำไทยทั่ว ๆ ไป จะถือเอาความสนุกเป็นใหญ่ จะมีทั้ง “เต้น” และ “รำ” ควบคู่กันไป ส่วนมือทั้งสองของผู้รำข้างหนึ่งจะถือเคียว อีกข้างหนึ่งถือต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว จึงได้ชื่อว่า “ เต้นกำรำเคียว” ลักษณะการแสดง จะแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง สำหรับฝ่ายชายเรียกว่า “พ่อเพลง” ฝ่ายหญิงจะเรียกว่า “แม่เพลง” เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียวโดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อฝ่ายหญิง และแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลายๆ คน ช่วยกันร้องจนกว่าจะจบเพลง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่ก็ต อ่านเพิ่มเติม
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า เมษายน 15, 2567 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า เป็นการละเล่นที่แสดงวิธีชีวิตอันสนุกของชาวบ้านหมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการร้องรำ เกี้ยวพาราสีระหว่างชาย-หญิง เริ่มการแสดงด้วยการประโคมกลองยาว จบแล้วผู้แสดงชาย-หญิง ออกรำทีละคู่ ประวัติความเป็นมา รำเหย่อย เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของไทยที่นิยมเล่นกันในบางหมู่บ้าน บางท้องถิ่นของภาคกลางนอกตัวจังหวัดเท่านั้น ไม่สู้จะแพร่หลายนัก การละเล่นประเภทนี้ดูแทบจะสูญหายไป กรมศิลปากรได้พิจารณาเห็นว่าการเล่นรำเหย่อยมีแบบแผนการเล่นที่น่าดูมาก ควรรักษาให้ดำรงอยู่และแพร่หลายยิ่งขึ้น จึงได้จัดส่งคณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปรับการฝึกหัดและถ่ายทอดการละเล่นเพลงเหย่อยไว้จากชาวบ้านที่หมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเดือนมิถุนายน 2506 แล้วนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในโอกาสที่รัฐบาลจัดการแสดงถวายสมเด็จพระรามาธิบดีแห่งมาเลเซีย ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2507 คำร้องแต่งขึ้นตามแบบแผนของการรำเหย่อยใช้ถ่อยคำพื้น ๆ ร้องโต้ตอบกันด้วยกลอนสด เป็นการร้องเ อ่านเพิ่มเติม
รำท่าครูสอน เมษายน 20, 2567 รำท่าครูสอน อ๋อ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ - นั่งคุกเข่ารำ ครูเอ๋ยครูสอน เสดื้องกรต่อง่า ครูสอนให้โผกผ้า สอนข้าให้ทรงกำม์ไล สอนครอบเทรดน้อย แล้วจับสร้อยพวงมาลัย สอนทรงกำม์ไล สอดใส่ซ้ายใส่ขวา เสดื้องเยื้องข้างซ้าย ตีค่าได้ห้าพารา เสดื้องเยื้องข้างขวา ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง ตีนถีบพนัก ส่วนมือชักเอาแสงทอง หาไหนให้ได้เสมือนน้อง ทำนองพระเทวดา อ๋อ ๆ ๆ ๆ ๆ .... ดนตรีรับ ครูเอยครูสอน เสดื้องกรต่อง่า ครูสอนให้ผูกผ้า สอนข้าให้ทรางกำไล ครูสอนให้ครอบเทริดน้อย แล้วจับสร้อยพวงมาลัย สอนทรงกำไล สอดใส่ซ้ายขวา เสดื้องย่างข้างซ้าย ตีค่าให้ห้าพารา เสดื้องเยื้องข้างขวา ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง หาไหนให้ได้เสมือนน้อง ทำนองพระเทวดา อ่านเพิ่มเติม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น