ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบในพิธีไหว้ครูโขน-ละคร

 ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบในพิธีไหว้ครูโขน-ละคร

        ดนตรีที่ใช้บรรเลงนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ส่วนเพลงที่บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์อันเป็นเพลงที่ในวงการศิลปินให้ความเคารพ  ผู้ที่บรรเลงได้จะต้องเป็นบุคคลที่มีฝีมือเป็นอย่างดี เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดอาจจะมีผลถึงตนเอง ที่เรียกว่า "ผิดครู" ซึ่งเพลงดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับพิธีไหว้ครูเป็นอย่างมาก เป็นเพลงที่จะกำหนดอัญเชิญครูปัธยาย (ครูเทพเจ้าต่างๆ) มาร่วมในพิธี ซึ่งแต่ละสถานที่อาจมีการกำหนดเพลงเรียงตามลำดับไม่เหมือนกัน เช่น

  ๑.  เพลงเหาะ เชิญพระอิศวร

  ๒.  เพลงกลม เชิญเทพเจ้า

  ๓.  เพลงโคมเวียน เชิญเทวดาทั่วๆ ไป

  ๔.  เพลงบาทสกุณี เชิญพระนารายณ์

  ๕.  เพลงตระพระปรคนธรรพ เชิญพระปรคนธรรพ (ครูดนตรี)

  ๖.  เพลงตระองค์พระพิราพเต็มองค์ เชิญองค์พระพิราพ

  ๗.  เพลงคุกพาทย์ เชิญครูยักษ์ใหญ่ทั่วไป

  ๘.  เพลงดำเนินพราหมณ์ เชิญผู้ทรงศีล

  ๙.  เพลงช้า-เพลงเร็ว เชิญครูมนุษย์

  ๑๐. เพลงเชิดฉิ่ง เชิญครูนาง

  ๑๑. เพลงกราวนอก เชิญครูวานรหรือพานร

  ๑๒. เพลงกราวใน เชิญครูยักษ์ทั่วไป

  ๑๓. เพลงกราวตะลุง เชิญครูแขก

  ๑๔. เพลงโล้ เชิญครูที่เดินทางน้ำ

  ๑๕. เพลงเสมอเถร เชิญครูฤษีขึ้นสู่ที่ประทับ

  ๑๖. เพลงเสมอมาร เชิญครูยักษ์ขึ้นสู่ที่ประทับ

  ๑๗. เพลงเสมอเข้าที่ เชิญครูที่มิได้เจาะจงว่าเป็นใครสู่ที่ประทับ

  ๑๘. เพลงเสมอผี เชิญวิญญาณที่เกี่ยวข้องด้านนาฏศิลป์ดนตรีขึ้นสู่ที่ประทับ

  ๑๙. เพลงแผละ เชิญสัตว์ปีกใหญ่ เช่น ครุฑ มาในพิธี

  ๒๐. เพลงลงสรง เชิญครูที่มาทุกองค์ลงสรงน้ำ

  ๒๑. เพลงนั่งกิน เชิญครูที่มาประชุมทุกองค์กินเครื่องเสวย

  ๒๒. เพลงเซ่นเหล้า เชิญครูที่มาประชุมทุกองค์ดื่มสุรา

  ๒๓. เพลงช้า-เพลงเร็ว เชิญทุกคนที่มาร่วมพิธีรำถวาย

  ๒๔. เพลงกราวรำ เชิญศิษย์ทุกคนรำเพื่อเป็นสิริมงคลและส่งครูกลับ

  ๒๕. เพลงพระเจ้าลอยถาด ส่งครูกลับ

  ๒๖. เพลงมหาชัย บรรเลงส่งท้ายเพื่อความสามัคคี


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า

รำท่าครูสอน