ประเพณีฟ้อนผีมด – ผีเม็ง

 ประเพณีฟ้อนผีมด – ผีเม็ง 

การฟ้อนผีมด ผีเม็ง คือ การฟ้อนรำ เพื่อเป็นการสังเวย หรือแก้บนผีของบรรพบุรุษ ซึ่งชาวบ้านทางภาคเหนือนับถือกัน แต่ในปัจจุบันได้เลือนหายไปมากแล้ว ยังมีปฏิบัติกันอยู่บ้างในชนบทของภาคเหนือ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ สันนิษฐานว่า เป็นประเพณีมาจากมอญ เพราะสังเกตได้จากเวลาการเขาทรงจะเป็นแบบการแต่งตัวของพวกมอญโบราณ และพวกมอญนี้เองที่จไทยทางภาคเหนือเรียกว่า เม็ง และการฟ้อนผีมดผีเม็งนี้เป็นการสังเวยบรรพบุรุษ ซึ่งจะจัดอยู่ในวงศาคณาญาติ หรือที่เรียกว่าตระกูลเดียวกัน ในวันครบรอบปี หรือบางครั้งก็รอบ 2 หรือ 3 ปี แล้วแต่จะสะดวก แต่บางทีพี่น้องหรือญาติๆกัน เกิดมีการเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาก็จะมีการบนบานสารกล่าว ถ้าหายจากการเจ็บป่วยแล้วก็ทำการแก้บน คือ การฟ้อนแก้บนนั่นเอง การจัดนั้นทางผู้ที่เป็นเจ้าภาพก็จะทำหน้าที่เลี้ยงดูหมู่แขกเหรื่อที่มาร่วมงาน ส่วนมากก็จะเป็นญาติและเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงกัน เริ่มต้นด้วยการทำปะรำ หรือทางภาษาเหนือเรียกว่า "ผาม” ขึ้นกลางลานบ้าน เจ้าภาพก็จะจัดเครื่องสังเวยเป็นต้นว่า หมู ไก่ เหล้า ข้าวต้ม ขนมน้ำอ้อย ผ้าพาดบ่า สำหรับใส่ทับในเวลาฟ้อน และการฟ้อนจะมีเครื่องดนตรีประกอบก็เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองเป็นส่วนมาก เช่น กลอง ระนาด แน ฉิ่ง ฆ้องวง ฯลฯ เมื่อได้เวลาแล้วก็จะจุดธูปเทียนที่หน้าหอผี ซึ่งปลูกไว้ในบ้านซึ่งเป็นลักษณะคล้ายศาลเพียงตา ปลูกให้เป็นที่อยู่ของผี สตรีที่มีอาวุโสในบ้านนั้นจะนำพิธีขอผีมาเข้าทรงนั้น ปกปักษ์รักษาลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข มัดมือสู่ขวัญลูกหลานพอสมควรแล้วจะมีการฟ้อน ผู้หญิงจะมีการฟ้อนก่อนโดยเอามือไปเกาะผ้าขาวกลางปะรำที่ผูกไว้ โยนตัวไปมา (ฟ้อนผีเม็ง) ขณะที่ฟ้อนก็จะมีเครื่องดนตรีประกอบด้วย พวกผู้ชายมักจะมีการฟ้อนดาบ สำหรับเครื่องแต่งตัวนั้นมีผ้าโสร่ง ผ้าพันหัว เสื้อแบบมอญ ผ้าพาดบ่า และอื่นๆ อีก ผีมดและผีเม็งนั้น มีวิธีการทำที่คล้ายคลึงกันอาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียอื่นๆ เช่น บางตำราบอกว่า ผีเม็งจะมีกระบอกปลาร้าเป็นเครื่องสังเวย ชาวบ้านมักจะพูดกันเล่นๆ ติดปากว่า "เม็งน้ำฮ้า” หมายถึง พวกมอญชอบปลาร้า และช่วยถนอมอาหาร สร้งความสามัคคีกลมเกลียวกันในกลุ่มที่นับถือผีด้วยกัน ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามจารีตที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ยอมให้แต่งงานในกลุ่มผีเดียวกันเป็นต้น ครอบครัวที่นับถือผีมด – ผีเม็ง เขาจะสร้างศาลทางทิศตะวันออกของบ้าน บางบ้านก็นับถือผีมด บางบ้านก็นับถือผีเม็ง ความแตกต่างของผีทั้งสองอยู่ที่สัญลักษณ์ กล่าวคือ ถ้าเป็นการฟ้อนผีเม็งจะมีกระบอกใส่ปลาร้า สังเวยผีบรรพบุรุษ แต่การฟ้อนผีมดจะไม่มี ส่วนกำหนดการและพีกรรมต่างๆ ก็ยังเหมือนเดิมอยู่ ประโยชน์ของการฟ้อนผีมด – ผีเม็ง 1. เป็นการสร้างความสามัคคีพบปะคุ้นเคยกันในหมู่บ้าน 2. เป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณอย่างหนึ่งที่รำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว 3. เป็นที่พึ่งทางใจในกรณีที่ป่วยไข้แล้วมีการบนบานสารกล่าวเอาไว้ เมื่อหายแล้วก็จัดพิธีฟ้อนแก้บน 4. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจอย่างหนึ่ง เพราะคนสมัยก่อนมีงานประจำทำก็คือ การทำไร่ ทำนา ช่วงเดือน 9 (มิถุนายน) เป็นช่วงที่ว่างจากงาน พวกนี้จึงพากันจัดพิธีดังกล่าวนี้ขึ้น เวลาในการจัดฟ้อน การฟ้อนผีมด – ผีเม็ง จะกระทำกันระหว่างเดือน 8-9 (พฤษ ภาคม – มิถุนายน) บางตระกูลก็กำหนดไว้ปีละครั้ง บางตระกูลก็ 3 ปีครั้ง บางตระกูลไม่มีกำหนดแน่นอนแล้วแต่ความสะดวก บางครั้งก็เป็นการฟ้อนแก้บนในกรณีที่ลุกหลานเจ้บป่วย แล้วบนบานเอาไว้เมื่อหายก็มีการฟ้อนรำแก้บน พิธีกรรม ก่อนที่จะทำพิธีต้องมีการเตรียมสถานที่โดยการสร้างที่ประจำ (ทางเหนือเรียก ผาม) ภายในลานบ้าน ในปะรำมีเครื่องเส้นสังเวยต่างๆ เช่น หัวหมู ไก่ต้มสุกทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ขนม ข้าวต้ม มะพร้าว กล้วยอ้อย ใส่ภาชนะไว้บนร้าน ซึ่งทำคล้ายศาลเพียงตาสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร และมีราวผ้าโดยมีผ้าโสร่วใหม่พาดไว้ รายตัวสำหรับผู้ที่จะมาฟ้อนและมีผ้าพาดบ่าเวลาฟ้อนด้วย พร้อมกับมีผ้าโพกหัวสีต่างๆ ซึ่งใช้กันทั้งซึ่งใช้กันทั้งชายและหยิง ตรงกลางปะรำจะมีผ้าขาวห้อยเอาไว้ให้ยาวลาดพื้นปะรำ (ผีเม็ง) ในวันแรกที่จะทำพิธีฟ้อนจะมีหญิงชราเป็นหัวหน้าตระกูลนำลูกหลานเข้าไปทำพิธีสักการบูชาผีบรรพบุรุษ มีการอธิฐานขอให้ตระกูลนำลูกหลานเข้าไปทำพิธีสักการะบูชาผีบรรพบุรุษ มีการอธิษฐานขอให้คุ้มครองลูกหลานญาติพี่น้องทุกคนให้มีความสุขสบาย ทำมาหากินสะดวก หลังจากทำพิธีสักการะบูชาบอกกล่าวแก่ผีบรรพบุรุษแล้วก็กล่าวอัญเชิญผีหรือเจ้าพ่อไปยังปะรำพี ในการทำพิธีอัญเชิญนี้ก็จะมีที่นั่ง (คนทรง) คนทรงจะมีอาการผิดแปลกไปจากเดิม ท่าทางไม่เหมือนลักษณะคนเดิมเลย และเจ้าพ่อก็จะเอาขวดเหล้าสังเวยนั้นยกดื่มจนหน้าแดงกล่ำ แต่ไม่ปรากฏอาการมึนเมา พอได้ที่แล้วก็จะถามกันระหว่างคนทรงกับบรรดาญาติพี่น้องทั้งหลายซึ่งคนทรงมักจะเรียกลูกหลานว่า "ไอ้เหลนน้อย” เมื่อถามไถ่กันเสร็จเรียบร้อยก็จะอัญเชิญเจ้าพ่อออกจากคนทรง หลังจากนั้นมีการฟ้อนผีมด-ผีเม็ง ซึ่งพวกผู้หญิงหรือญาติพี่น้องที่มีอายุจะเป็นคนฟ้อนนำขึ้นก่อน ผู้รำส่วนมากจะเป็นผู้หญิง ผู้ชายไม่ค่อยรำกัน ถ้ารำมักจะรำดาบง้าว ก่อนที่ผู้ฟ้อนจะไปหยิบเครื่องแต่งตัวจากราว สวมทับเข้ากับเสื้อผ้าของตัวเองโดยไม่ต้องเปลี่ยน แล้วก็เข้าไปเอามือถือเกาะผ้าขาวที่อยู่กลางปะรำพร้อมกับฟุบหน้าตัวโยนตัวไปๆมาๆ สักครู่ก็ออกมาฟ้อนตามจังหวะกลองที่บรรเลง กลองดังกล่าวเรียกว่า กลองเต่งทิ้ง มีอุปกรณ์คือ กลองสองหน้า กลองขัดจังหวะ ระนาด ฆ้องวง ปี่ (แน) ฉาบ ฉิ่ง ฆ้องเล็ก ชนิดละหนึ่งอย่าง (กลองชนิดน้างเหนือใช้ตีปลุกใจพวกนักมวยเวลาชก) คนรำก็จะเปลี่ยนกันเข้าออก แต่ละคนจะรำต้องเป็นคนในตระกูลเท่านั้น ตระกูลอื่นเข้าไปรำไม่ได้ ผิดผีและการรำไม่มีศิลปะอะไร การฟ้อนผีมดผีเม็ง ไม่ใช่การฟ้อนเพื่อเซ่นสังเวย พวกภูตผีปีศาจ แต่เป็นการฟ้อนเซ่นสังเวยผีบรรพบุรุษ ซึ่งอาจจะเป็นผีปู่ย่าตายายหรือผีบิดามารดา ที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะเขาถือกันว่าเมื่อพวกญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ดวงวิญญาณจะมารวมกันอยู่ทีห่อผี จึงได้สร้างหอขึ้นไว้เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรม


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า

รำท่าครูสอน