หมอลำ

 หมอลำ
ภาค     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  อุบลราชธานี
อุปกรณ์วิธีเล่น
ประกอบด้วยผู้แสดงและผู้บรรเลงดนตรีคือ หมอแคน แบ่งประเภทหมอลำดังนี้
๑. หมอลำพื้น ประกอบด้วยหมอลำ ๑ คน หมอแคน ๑ คน
๒. หมอลำกลอน ประกอบด้วย หมอลำ ๒-๓ คน และหมอแคน ๑-๒ คน
๓.หมอลำเรื่องต่อกลอน ประกอบด้วยหมอลำหลายคน เรียก หมอลำหมู่ ดนตรีประกอบคือ แคน พิณ ฉิ่ง กลอง และเครื่องดนตรีสากล
๔. หมอลำเพลิน ประกอบด้วยหมอลำหลายคนและผู้บรรเลงดนตรีหลายคน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เป็นมหรสพที่ใช้ในงานเทศกาลประจำเดือน งานบวช งานกฐิน งานวันเกิด งานศพ ฯลฯ เป็นมหรสพที่ประชาชนชาวอีสานในอดีตนิยมชมชื่นมาก

คุณค่า แนวคิด / สาระ
๑. บทบาทด้านพิธีกรรม อาทิการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ทำนายโชคชะตาบ้านเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
๒. บทบาทในฐานะมหรสพ เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เช่น การลำเกี้ยวพาราสีของหมอลำชาย-หญิง บางขณะก็แทรกคติธรรม จริยธรรม และความรู้ด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณี เหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันแก่ผู้ฟัง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า

รำท่าครูสอน